วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

- ตำนานประวัติวัดดอยพญากวางคำ


ตำนานประวัติดอยพญากวางคำ
ครั้งพุทธกาลแต่เดิมมา ณ ขุนห้วยโป่งแดงปัจจุบันเวลาบ่ายคล้อยมีกวางฝูงหนึ่งประมาณสิบกว่าตัวออกหากินตามประสาสัตว์โลกโดยการนำของจ่าฝูง
ในขณะเดียวกันนั้นก็มีพรานล่าเนื้ออยู่สองกลุ่มออกล่าสัตว์ กลุ่มหนึ่งมาทางทิศเหนือ อีกกลุ่มหนึ่งมาทางทิศใต้ ได้มาเจอกวางคำกับฝูงกวางกำลังออกหากินอยู่พอดี ด้วยความเป็นจ่าฝูงโดยสัญชาตญาณแห่งโพธิสัตว์ที่จะให้บริวารพ้นภัยอันตรายจากกลุ่มพรานอันมีสติปัญญาว่องไวและความเสียสละ จึงตัดสินใจหลอกล่อนายพรานทั้งสองกลุ่มให้สนใจติดตามตัวเองแต่ผู้เดียวโดยมุ่งหน้าวิ่งหลอกล่อพรานขึ้นไปบนเขาที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ พระธาตุดอยกวางคำปัจจุบันเพื่อให้พ้นและห่างจากบริวารที่หากินอยู่ โดยไม่ห่วงตัวเองไม่หวั่นเกรงกลัวต่อความตาย ในขณะนั้นบนจอมเขาขุนห้วยโป่งแดงที่พญากวางคำกำลังวิ่งขึ้นไปนั้น มีพระมหาเถระรูปหนึ่งออกเดินธุดงค์โปรดสัตว์โลกมาพักปักกลดจำศีลภาวนาอยู่บนจอมเขา ขณะนั้นกำลังทำวัตรสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่พญากวางได้วิ่งหนีพรานมาเจอะพระมหาเถระสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่จึงได้หยุดยืนฟังและพิจารณาว่าเสียงนี้เหมือนเคยได้ยินได้ฟังมาก่อนไพเราะมาก จิตจึงเกิดความเพลิดเพลินหลงใหลติดในเสียงสวดมนต์ของพระมหาเถระ ลืมว่ากำลังวิ่งหนีกลุ่มพรานอยู่ ไม่สนใจ ไม่กลัวความตายว่าจะมาถึงตัว พรานล่าเนื้อทั้งสองกลุ่มได้วิ่งไล่พญากวางขึ้นมาบนจอมเขา เพราะเห็นรูปร่างลักษณะใหญ่โตสวยงาม พอมาเจอพญากวางหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว ก็ใช้อาวุธคือธนูยิงใส่พญากวางทันที โดยไม่ลังเลและไม่ทันสังเกตว่ามีพระธุดงค์ปักกลดอยู่ใกล้ ๆ (หลวงปู่เมตตาบอกว่า ด้วยบารมีบุญเก่าเดิมมาและอานิสงส์ที่จิตติดในเสียงสวดมนต์เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า)
ในขณะนั้นพญากวางคำไม่รู้สึกตัวว่าถูกยิงเสียชีวิต แต่รู้ตัวว่าเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมาก็ได้อุบัติจุติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงสา(ดาวดึงส์) มีประสาทวิมานกว้างได้สิบสองโยชน์ สูงสิบสองโยชน์และมีเทพธิดานางฟ้าเป็นบริวารอีกเป็นพันองค์ ส่วนพรานทั้งสองกลุ่มก็ได้แบ่งเนื้อกวางโดยไม่สนใจพระธุดงค์ที่ปักกลดสวดมนต์อยู่ ส่วนหนังของกวางนั้นพรานได้เอาตากไว้บนก้อนหินใกล้ ๆ กับเขาลูกนี้ (ปัจจุบันกลายเป็นแท่งหินหนังกวางอยู่ห่างจากวัดไม่ไกลนัก หลวงปู่เมตตาพาชาวบ้านไปดูและยืนยันด้วยองค์ท่านเอง) ส่วนหัวกวางพรานได้นำไปคั่ว ปัจจุบันคือบ้านหัวขัว แต่หลวงปู่บอกว่า บ้านหัวขัวไม่ถูกต้องเป็น หัวคั่วเพราะพรานเอาหัวกวางมาคั่วที่นี่ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็นภาษาล้านนาว่า หัวขัว” (หัวสะพาน) เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่บอกเพราะชาวบ้านได้ไปขุดลอกลำเมืองข้างวัดม่วงคำในสมัยที่องค์ท่านได้บูรณะวัดม่วงคำ ปัจจุบันได้ไปเจอกระดูกกะโหลกกวางฝังอยู่จึงนำไปให้หลวงปู่ดู ท่านบอกว่าใช่เป็นกระดูกส่วนหัวพญากวางคำ (น่าเสียดายมิได้มีใครสนใจเก็บรักษาไว้จึงได้สูญหายไปในที่สุด) พระมหาเถระนั้นเมื่อสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติกรรมฐานแล้วจึงได้มาเทศน์โปรดสั่งสอนบอกกล่าวให้กลุ่มพรานที่กำลังแบ่งเนื้อพญากวางคำและได้ชี้บอกพรานทั้งหลายว่า สูทั้งหลายทำบาปมากแล้ว สูรู้ไหมว่ากวางที่สูยิงนั้นไม่ใช่กวางธรรมดาทั่วไป แต่เป็นกวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีได้พาบริวารออกหากินต่อไปภายภาคหน้าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าอีกตนหนึ่งแล้วเทศน์โปรดพรานเลิกฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตหันมาทำบุญรักษาศีล โดยการนำศีลห้าไปปฏิบัติ พรานทั้งหมดเมื่อได้ฟังพระมหาเถระเทศน์จบก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสพระรัตนตรัยจึงขอรับศีลห้าไปปฏิบัติ แล้วพร้อมใจกันนำอาวุธทั้งหลาย ถวายพระมหาเถระเพื่อบูชาพระธรรมคำสอนของพระมหาเถระและบูชาศีลห้า (หลวงปู่จึงบอกว่าดอยลูกนี้ คือ ดอยศีลห้า) เมื่อกลุ่มพรานมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้วจึงนึกถึงคุณของพระมหาเถระ หัวหน้ากลุ่มพรานจึงได้ขอให้พระมหาเถระทำสัญลักษณ์ไว้เป็นอนุสรณ์ตัวแทนของพระมหาเถระ เพื่อเขาจะได้สักการบูชาต่อไปในวันข้างหน้า พระมหาเถระจึงได้อธิษฐานจิตเหยียบรอยเท้าไว้บนหินให้พรานรักษาและได้มากราบไหว้สักการบูชา พระมหาเถระได้เล็งเห็นว่าในอนาคต ณ สถานที่แห่งนี้คงจะดำรงอายุสืบทอดพระพุทธศาสนาในอนาคตข้างหน้า พระมหาเถระจึงได้ขอเอาเขาพญากวางพระโพธิสัตว์จากพรานไว้ หลังจากพรานกลับกันไปหมดแล้วพระมหาเถระจึงได้นำเขาพญากวางคำที่ได้ขอมาจากพรานอธิษฐานจิตฝังเขาพญากวางคำไว้ตรงจุดสูงสุดของจอมเขาและทำสัญลักษณ์ไว้โดยการนำเอาหินสามก้อนมาวางไว้เป็นรูปสามเหลี่ยม(ปัจจุบันหลวงปู่ได้สร้างพระธาตุครอบตรงหินสามก้อนที่ฝังเขาพญากวางคำ) พรานทั้งสองได้แยกย้ายกันกลับ อีกพวกหนึ่งไปทางทิศใต้อีกพวกหนึ่งไปทางทิศเหนือ พอไปได้สักระยะหนึ่ง ทั้งสองพวก จึงมาคิดทบทวนคำบอกของพระมหาเถระว่ากวางตัวนี้ไม่ใช่กวางธรรมดา แต่เป็นพญากวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี วันข้างหน้าจักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคตกาลข้างหน้า เมื่อคิดได้จึงปรึกษาพร้อมใจกันไม่กินเนื้อพญากวางคำ นำเอาเนื้อพญากวางคำมากองรวมกันไว้ทั้งหมดแล้วแยกย้ายกันกลับ ปัจจุบันเนื้อพญากวางคำได้กลายเป็นหินหมดและหลวงปู่ได้ให้ไปเก็บเอามารักษาไว้บนวัดเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นอนุสติเตือนใจ
ในสมัยที่องค์หลวงปู่มาเจอรอยพระบาทแล้วให้ชาวบ้านกะเหรี่ยงมาช่วยสร้างให้เป็นวัดขึ้นจึงได้บอกให้ชาวบ้านไปดูจุดที่พรานนำเนื้อพญากวางคำกองไว้ไม่ห่างจากวัดพระธาตุดอยพญากวางคำไปเท่าใดนัก
ความเป็นมาที่องค์หลวงปู่ได้มาก่อสร้างบูรณะวัดพระธาตุดอยพญากวางคำ ปัจจุบันได้เป็นสถานที่ชาวบ้านใช้ทำบุญพิธีกรรมในพระพุทธศาสนาสร้างบารมีเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาขององค์สหลี๋สัพพัญญะพระพุทธเจ้าให้ถึงพ้นพระวษานั้นมีเหตุอยู่ตามที่องค์หลวงปู่ ได้เมตตาเล่าให้ผู้บันทึกฟังว่าเมื่อประมาณหกสิบปีที่ผ่านมาในสมัยที่ท่านได้ติดตามพระครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะซ่อมแซมวัดพระธาตุหัวขัวห่างจากวัดไปตามทิศตะวันตกประมาณห้ากิโลเมตร เป็นวัดอายุเก่าแก่พอสมควรในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง มีอยู่วันหนึ่งชาวบ้านหัวขัวได้เล่าให้ท่านฟังว่า ได้ไปหาเห็ดบนดอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดพระธาตุหัวขัวประมาณห้ากิโลเมตร ได้ไปเจอรอยเท้าอยู่บนหินดอยลูกนั้น และได้เล่าบอกต่อ ๆ กันไปให้พระเณรที่ติดตามมาช่วยพระครูบาศรีวิชัยบูรณะพระธาตุหัวขัวฟัง ตั้งแต่นั้นมาพระภิกษุที่มาช่วยงานครูบาศรีวิชัยได้ไปเที่ยวดูก็เจอจริง  ๆ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน แล้วพระภิกษุหมู่นั้นก็เอามาล้อองค์หลวงปู่ว่าบ่อจั้ยเป๋นรอยพระบาทพระพุทธเจ้าเป๋นรอยติ๋น ของตุ๊วงศ์”(ไม่ใช่รอยเท้าพระพุทธเจ้าแต่เป็นรอยเท้าของครูบาวงศ์เอง) ที่องค์หลวงปู่ถูกล้อเลียนนั้นเพราะหลวงปู่ชอบเก็บตัวอยู่องค์เดียว ไม่สุงสิงกับหมู่พวกตั้งแต่นั้นมา ถ้าวันไหนว่างจากงานซ่อมแวมบูรณะวัดพระธาตุหัวขัว องค์หลวงปู่มักจะขึ้นไปกราบรอยพระบาท
บางครั้งขึ้นไปกราบที่เดิมไม่มีรอยพระบาทหาอย่างไรก็ไม่เจอ วันหลังขึ้นไปใหม่ไปที่เดิมปรากฏมีรอยพระบาทอยู่ที่เดิมเป็นอยู่หลายครั้ง เหตุการณ์อย่างนี้องค์หลวงปู่เมตตาบอกกับผู้บันทึกว่าเป็นเหตุอย่างนั้นเพราะเทวดาที่รักษารอยพระบาทเอาซ่อนคือบังตาไม่ให้เห็น องค์หลวงปู่จึงเกิดแรงบันดาลใจให้ท่านอยากจะสร้างที่ครอบรอยพระบาทขึ้นมา หลังจากนั้นมาองค์หลวงปู่จึงขึ้นไปกราบสักการะอีกครั้งในตอนนี้ท่านได้เก็บเอาก้อนหินบริเวณรอบรอยพระบาทมาก่อทำเป็นรั้วให้ดูเรียบร้อยสะอาดงามตาแก่ผู้มากราบไหว้ทีหลังและเพื่อป้องกันเวลาขึ้นมากราบวันหลังรอยจะมิได้ถูกเทวดาซ่อนอีก ในตอนนี้ท่านจึงได้ตั้งอธิษฐานว่า ถ้ารอยเท้านี้เกี่ยวข้องข้องผูกพันกับท่านเป็นรอยพระบาทจริงไม่ได้สร้างหรือมนุษย์ทำขึ้นและเป็นบุญของท่านที่จะได้บูรณะก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทก็ขอให้ได้สร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียงเจ็ดวันเท่านั้น พออธิษฐานจิตเสร็จท่านบอกว่าได้ยินเสียงดอยครางสั่นสะเทือน คือ เทวดาที่รักษารอยพระบาทรับรู้เป็นพยานและอนุโมทนาสาธุการในเจตนาจะบูรณะ การอธิษฐานจิตขององค์ท่านที่เป็นจริงตามคำอธิษฐานของท่าน ท่านได้ทำการก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายในเจ็ดวันพอดี ในระหว่างที่ทำการก่อสร้างนั้นหลวงปู่สร้างเองทั้งหมด ไม่มีใครช่วยท่านเลยและท่านไม่ได้จำวัตรที่รอยพระบาทนี้ ยังคงจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัว ฉันเช้าเสร็จแล้วก็เดินเท้าขึ้นมาทำงาน พอตกเย็นตะวันตกดินท่านก็เดินทางกลับมาจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัวตามเดิมเป็นอย่างนี้ทุกวัน (ภายใน 7 วัน) ท่านจึงตั้งชื่อรอยพระบาทว่า พระบาททันใจถ้าใครมีปัญหาอะไรก็ให้มาอธิษฐานขอที่รอยพระบาทนี้ ศักดิ์สิทธิ์เร็วทันใจ ท่านเมตตาบอกสั่งไว้ หลังจากที่สร้างครอบรอยพระบาทเสร็จแล้วช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวัด พระธาตุหัวขัวจนแล้วเสร็จ ท่านจึงได้นำพาชาวบ้านหัวขัวโป่งแดง-สัญชัย ตัดถนนขึ้นสู่ดอยตรงกับที่ได้สร้างบันไดนาคในปัจจุบัน และได้ขุดสร้างทางเป็นวงกลม ขึ้นสู่ดอยอีกสายหนึ่งจึงเรียกติดปากชาวบ้านแต่ก่อนว่าวัดดอยวงเรียกตามลักษณะของถนนที่เป็นวงกลมขึ้นดอยและได้สร้างพระธาตุขึ้นหนึ่งองค์ สร้างพระวิหารอีกหนึ่งหลังเสนาสนะกุฎิ พร้อมต่อประปาภูเขานำไปใช้ในวัดและในหมู่บ้านโป่งแดง-สัญชัย จนถึงปัจจุบันนี้
หลวงปู่ท่านผูกพันกับวัดพระธาตุดอยกวางคำนี้มากถึงกับออกปากว่าสถานที่นี้คือป่าช้าของกู ความหมายคือท่านได้เกิดเป็นกวาง คือ พญากวางคำ แล้วได้มาสิ้นชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้ ประมาณปี 2533 หลวงปู่ได้สร้างพระวิหารขึ้น 1 หลัง มีหลวงพี่ปั๋น ปามจโจ ดูแลอยู่จนพระวิหารสร้างเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ได้ไปบูรณะวัดม่วงคำห่างจากวัดพระธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ 2กิโลเมตร ท่านปั๋นได้ไปช่วยดูแลจนถึงปัจจุบันมาประมาณปี 2539 ผู้เขียนบรรพชาเป็นสามเณรได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ และเป็นลูกศิษย์องค์เดียวที่มีภูมิลำเนาบ้านเกิดอยู่ในบ้านทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง โดยกำเนิดมีความสำนึกว่า หลวงปู่ท่านได้มาสร้างไว้ในเขตของบ้านเกิดตัวเอง และยังเป็นวัดของครูบาจารย์ด้วยคิดว่าสมควรที่จะมาช่วยองค์หลวงปู่ พ่อครูบาอาจารย์ ดูแลรักษาโดยมิได้มีเจตนอื่นเลย และได้ขึ้นมาเจอท่านพงศักดิ์ประจำอยู่ก่อนแล้ว ได้มาช่วยบูรณะจนถึงปัจจุบันแล้ว หลวงปู่ท่านยังได้ฝากคำพูดที่เป็นปริศนาไว้กับพระอุปสมบทรุ่นเดียวกันกับผู้เขียน ตอนองค์ท่านไปดูงานก่อสร้างพระเจดีย์ที่อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชีย รอยต่อลี้ เถินว่า ให้ผู้เขียนรีบไปดอยกวางคำเดี๋ยวเขาจะมายึดวัดแล้ว พระที่ท่านดูแลรักษาอนุสาวรีย์มาบอกตอนองค์หลวงปู่ท่านทิ้งสังขารแล้วเลยไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน และอีกหลายเรื่องที่ องค์ท่านมักจะเอ่ยขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีสาเหตุ พอมาเจอปัญหาทีหลังจึงได้รู้ว่าหลวงปู่ท่านได้ให้คำตอบไว้ตั้งนานแล้ว แต่ปัญหามาทีหลัง แสดงว่า องค์หลวงปู่ท่านรู้ล่วงหน้ามาแล้ว จากนี้ไปไม่มีสังขาร หลวงปู่ที่เราเหล่าลูกศิษย์จะได้กราบเรียนถามปัญหาอย่างเคยมา คงเหลือต่คำสอนที่องค์ท่านได้เมตาสั่งสอนและยังมีสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่องค์ท่านได้เมตตาสร้างไว้ให้เหล่าคณะที่มีต่อหลวงปู่ เปรียบเป็นสมบัติชิ้นสุดท้าย ที่พ่อทิ้งไว้ให้ลูกช่วยดูแลสืบต่อปฏิปทางานของพ่อเพื่อเป็นการสืบทอดต่ออายุพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณโคดมบรมศาสดาสัมพุทธเจ้าให้ถึง 5000 ปี ในอนาคตกาลข้างหน้าแล

พระสมุห์สง่า  สนฺจิตโต
22 เมษายน 2552








- สามพระครูเจ้า ที่ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์


วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย
เดิมทียังไม่ได้สร้างเขื่อนภูมิพล ขึ้นกับตำบลมืดกา อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังการสร้สงเขื่อนภูมิพลแล้วปัจจุบันวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยขึ้นกับตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดแม่น้ำปิง ปืไหนดินฟ้าอากาศดีน้ำก็ขึ้นมาถึงตีนพระธาตุ ปี พ.ศ.2518 กับ พ.ศ.2545 น้ำไดัขึ้นมามาก วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยถูกล้อมไว้เป็นเกาะลอยอยู่กลางน้ำ ทิศใต้ติดหมู่บ้านที่ใกลัที่สุด คือ บ้านอูมวาบ หมู่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก คิดว่าใกล้ที่สุด คือหมู่บ้านที่ไปหาใกล้กว่าหมู่บ้านอื่น ระยะประมาณ 25  กิโลเมตรและหมู่บ้านหิดลาดนาไฮ เลยไปอีก 6  กิโลเมตร จากหมู่บ้านอูมวาบไปทางทิศตะวันตกติดกับดอยม่อนจอง ดอยม่อนจองลูกนึ้สันฐานคล้ายพระวิหาร เพราะว่าบนยอดดอยของดอยม่อนจองไม่มีต้นไม้ขึ้น อยู่ไกลๆมองคล้ายๆ หลังคาวัด เลยเรียกว่าม่อนจองหรือดอยม่อนจอง (จอง =เป็ภาษาไทยใหญ่-ไทลื้อล้านนา หมายถึง วัด) หรือเรียกว่าดอยหลังเมือง คือดอยที่สูงใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เพราะถ้าเดินจากเมืองสร้อยขึ้นถึงหลังเขาดอยลูกนี้ ก็จะเห็นเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือเมืองตื๋น หรือเมืองนันต๊ะบุรี ตามตำนานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนี้ใกล้รุ่งใกล้แจ้งคนกำลังตื่นกันพอดี ปัจจุบันคนเรียกเพื้ยนไปเป็นเมืองตื๋น เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้แจ้ง คือ เสด็จ มาถึงใกล้แจ้งใกล้สว่างพอดีเลยไว้พระเกศาธาตุที่นี่

ส่วนทิศเหนือแต่ก่อนที่จะสร้างเขื่อนภูมิพลก็ติดกับหมู่บ้านแก่งปวง บ้านหาดขี้หมู บ้านเสลี่ยม ปัจจุบันหมู่บ้านพวกนี้ได้ไปอยู่เมืองบาดาลแล้ว คือจมน้ำไปหมดเลย ปัจจุบันทิศเหนือ หมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดของวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย ก็คือ หมู่บ้านก้อ อำเภอลื้ จังหวัดลำพูน ระยะทางไปประมาณ 40 กิโลเมตร ตั้งแต่บ้านเมืองเกิดภัยสงครามกับพม่า บ้านเมืองก็เลยแตกสาแหรกขาด วัดพระธาตุเจ้าก็เลยร้างไปพร้อมกับเมือง และได้สร้างเขื่อนยันฮีขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำให้น้ำท่วมบ้านเมืองไปหลายบ้านเมือง ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์บอกว่าตั้งแต่เขื่อนขึ้นมาถึงเมืองฮอด มีวัดทั้งหมด 999 วัด เฉพาะเมืองสร้อยก็มี 99 วัด แล้วหัวเมืองอื่นๆอีก คือเมืองแส บ้างก็เรียกหนองแสงโบราณวัตถุยังปรากฏให้เห็นอยู่มีกำแพงสูง 2 เมตรกว่า ความหนาประมาณ 1 เมตร คงจะเป็นที่ตั้งของพระราชฐาน พระราชวังโบราณ ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นที่น่าศึกษามาก ซากปรักหักพังของวัดวาอารามที่ปรากฏให้เห็นไม่สามารถจะนับได้ เมืองที่ร้างไป คือ เมืองสร้อย เมืองหนองแสง เมืองดินแดง เมืองขอบดังคำ ตามจารึกในคัมภีร์ใบลานที่ได้มาถ้ำห้วยถาง ธรรมผูก 8 บาลี บาราชิกกัณดะ พระยาหลวง เจ้าต๋นเป๋นเอ้กะมันติ สร้างไว้กับปิฏกวัดเจียงหลวงนั้นแล จุลศักราช 1066 ตั๋วปี๋ จนถึงปัจจุบันอายุก็ประมามณ 304 ปี ก็ประมาณ พ.ศ. 2248

ตำนานเมืองสร้อยคัมภีร์ใบลานต้นฉบับของวัดชัยมงคล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตอนท้ายได้จารึกไว้ว่า "  ปริปุณณ แล้วยามฉันเพลแล จุลศักราชได้ 1252 ตัวปลีเมิงเม้าแล ปลีกัดเหม้า เข้ามาในเดือนสิบ แรมสิบค่ำ (วัน) 6 แก่ข้าแล ข้าเขียนธัมม์ผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนา 5 พันพระวัสสา แด่นิพพานํ ปรมํ สุก์ขํ คันธาภิกขุ ริกฺธิต หื้อพ่อออกเจ้าน้อยหลวงคำตื้อแลปางเมื่ออยู่ สบสระเหลี่ยมแล " พ.ศ. 2434

เจ้าน้อยคำตื้อคงสืบเชื้อสายมาจากเมืองสร้อย และมากิ๋นเมืองต๋าม หนองสี่ฮ้อย แลพสบสระเหลี่ยม

ตำนานพระเกศาเมืองสร้อย วัดบ้านจั่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ดั่งข้อความในตอนท้ายว่า .เสด็จแล้ววัน 5 ยามเที่ยงแล นายเหย สักกพัดไว้ 1259 ตัวปลีเมิงเล้าแลนายเหย เดือน 12 ออก 13 ค่ำ พร่ำว่าได้วัน 5 แล พระตนน้อยสามเณรสุยะริจสร้างปางเมื่ออยู่วัดบ้านชั่ง แก้วกว้างท่าช้าง สรีบุญเรือง วันนั้นแล อก พุทโธ ชะดาบ่ทันแล้ว ย้อนใคร่แอ่วและนายเหย ข้าบ่ช่างเขียน ขีดแต้มตามฮีตฮอยพทัตหื้อเจ้าคอยแปง ค่อยแยง ค่อยรัด จิ่มเตอะ เจ้าใจข้าบ่อพอตั้งเท่าใดแล นิพพานํ ปรมํ สุขํธุรํ แด่เทอญเจ้า เจ้าเหยเหย คงจะอยู่ในสมัยแผ่นดินของพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่ล้านนาเฮา ครูบาอาจารย์  และคนโบราณ แต่ก่อนท่านกลัวพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสูญหาย พอรู้ว่าบ้านเมืองเกิดภัยสงครามก็ชานกันเอาพระคัมภีร์ใบลานพระไครปิฏกเก็บไว้ยังถ้ำที่ได้มาจากถ้ำห้วยยอมหลวงมีอายุ 500 กว่าปีเศา เอาไปถวายให้ท่านพระราชพรหมจารย์ ท่านอาจารย์ทอง วัดพระธศรีจอมทอง ท่านจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับล้านนาไทย ปัจจุบันต้นฉบับได้เก็บไว้ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม วัดท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์ จะเห็นได้ว่าบ้านเมืองเป็นชุมชนหนาแน่นไมาใช่น้อย ตามออกในตำนานเมืองตื๋นว่า บ้านอูมวาบ หินลาดนาไฮ หนองแสง ดินแดง ขอบด้ง ก็คงจะอยู่ในยุคของเมืองร้างไปประมาณสามสี่ร้อยปีผ่านมาวัดพระธาตุแก่งสร้อยก็เลยอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายกลางป่าไม้ไพรดง จนมาถึงยุคครูบาเจ้าชัยลังก๋า หรือเรียกกันตามประสาชาวบ้านว่า ครูบาเจ้าลังก๋า ครูบาเจ้าลังก๋า เดิมทีท่านมีบ้านเกิดเมืองนอนอยู่ที่บ้านฮั่ว ท่านเกิดวันอังคาร ปีเม็ด (ปีแพะ) เมื่อปี พ.ศ. 2400 อยู่ในตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของพ่ออนันต์ ส่วนมารดาของท่านนั้นไม่ทราบชื่อ พออายุครบบวชพระท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ถือเคร่งในธุดงค์วัตรมาตลอด ท่านก็ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร และมีพระหลานชายของท่านอีกองค์หนึ่ง เมื่ออุปสมบทแล้วก็ออกติดตามเป็นพระอุปฐากท่านครูบาเจ้าลังก๋า พระหลานชายของท่านองค์นี้ คือ ท่านพระครูบาอินถา เป็นบุตรของพ่อน้อยอินทร์ตาและแม่หน่อ ใจบุญเรือง บ้านเดิมก็อยู่บ้านฮั่วเหมือนกัน ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์เล่าว่าครูบาเจ้าลังก๋าเป็นพระสันโดษอยู่อย่างง่ายเคร่ง จริยวัตรปฏิบัติ (นี้ไม่ได้เขียนนอกเรื่อง เพราะประวัติของครูบาอาจารย์นับวันยิ่งไม่มีคนรู้จัก) เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ติดกับที่อยู่ ท่านอาจารย์ครูบาเล่าว่า ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ที่ไหนไม่เกิน ๗ วัน ถ้ามีศรัทธานิมนต์ท่านก็อยู่โปรดเมตตาอยู่ฉลองศรัทธา สัก 2 – 3 วัน ก็ออกธุดงค์ไปต่อ เมื่อปี พ.ศ. 2465 ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมคณะของท่านออกธุดงค์มาจากวัดพระบาทห้วยต้มมากราบพระธาตุแก่งสร้อย เห็นว่าสถานที่นี่เหมาะแก่การเจริญเมตตาภาวนาสัปยะดี คณะของท่านก็พักปฏิบัติอยู่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ส่วนตัวของท่านครูบาเจ้าลังก๋า ก็พักอยู่ถ่ำเล็กบ้าง ถ่ำเสือห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 60 วา จากองค์พระธาตุลงไปหาม่น้ำปิงประมาณ 500 วา ติดกับแม่น้ำปิงก็มีพวกชาวบ้านอยู่ประมาณ 4 – 5 หลังคาเรือน เป็นพวกเลี้ยงวัวและหาปลาก็ขอนิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมด้วยคณะของท่านอยู่ปฏิบัติธรราที่นี่ เขาจะรับอุปฐากโดยพ่อบุญทา โก้ง เป็นคนบ้านก้อพาครอบครัวมาเลี้ยงวัวและหาปลา อยู่ที่ท่าวัดพระธาตุแก่งสร้อย หลวงพ่อจันทร์ตาเป็นลูกของพ่อบุญทา ได้เล่าให้ฟังว่าตัวท่านก็เกิดบ้านก้อ แต่มาโตที่แก่งสร้อย ท่านอายุอ่อนกว่าท่านครูบาเจ้าวงค์ประมาณ 2 ปี ท่านเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งพ่อบุญทาได้ไปทำความสะอาดที่องค์พระธาตุแก่งสร้อย ซึ่งรกร้างมานานหลายร้อยปีไม่มีใครมาดูแลมีแต่เครือเถาวัลย์ปกคลุมไปหมด คณะของพ่อบุญทาก็ทำความสะอาดถากถางเอาเครือเถาวัลย์ออกจากพระองค์ธาตุก็หักเหลือครึ่งองค์ พอตกกลางคืนหลับฝันไปว่าเทวดามาถามว่า ท่านจะมาสร้างหรือถึงได้มาแผ้วถางพ่อบุญทาก็ตอบไปว่าบ่สร้าง บ่มีบุญ แต่มาอุปฐากไหว้สาบ่ดาย
                อยู่ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2467 ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้มอบให้พระสิระสาพร้อมคณะมาค้นหาพระธาตุแก่งสร้อย ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกว่าจากน้ำปิงไปประมาณ 500 วา เจ้าของเขารออยู่ที่หน้าวัดนั้น และคณะของพระสิระสามาก็พบพ่อบุญทาและคณะของครูบาเจ้าชัยลังก๋า ก็ขึ้นมาดูองค์พระธาตุก็กลับไปบอกแก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย แห่งวัดจ๋อมศรีทรายมูลบุญเรือง บ้านปาง ท่านก็มอบหมายให้ลูกศิษย์ของท่าน 3 รูป นำโดย พระสิระสา พระพุทธิมา และพระก้อนได้นำศรัทธาพระภิกษุสามเณรปั้นดินจี่ ที่วัดก้อต้าปิงเหนือเสร็จแล้วได้นำอิฐลงเรือล่องแพมายังวัดแก่งสร้อยแล้ว คณะลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยก็นิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานในการบูรณะก่อสร้างพระธาตุแก่งสร้อย เพราะครูบาเจ้าชัยลังก๋ามีอายุพรรษาแก่กว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยไป 18 ปี ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยตอนนั้นท่านอายุได้ 49 ปี ส่วนพระอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์ตอนนั้นท่านยังเป็นขะโยม อยู่อุปฐากรับใช้ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ได้ 12 ปี ส่วนท่านครูบาเจ้าศรีชัยลังก๋าอายุได้ 67 ปี ยังแข็งแรงอยู่จากนั้นพระสิระสาได้ให้โยมที่ติดตามมาด้วยไปนิมนต์พระสงฆ์ที่มีอายุพรรษา 20 รูปโดยมีครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานทำพธีสวดถอน เริ่มตั้งวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2467 จุลศักราชได้ 1286 ปีไจ้ (ชวด) การก่อสร้างได้ดำเนินการงานไปอย่างต่อเนื่อง  จนมาถึง พ.ศ. 2468 พระครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็ได้อุปสมบทลูกศิษย์ของท่านเป็น พระภิกษุ ๔ รูป ได้แก่
1. พระภิกษุสุก           (สึกแล้ว)
2. พระภิกษุเมา          (สึกแล้ว)
3. พระภิกษุหล้า         (สึกแล้ว)
4. พระภิกษุอินถา      (องค์นี้เป็นพระอุปฐากของครูบาเจ้าชัยลังก๋า)

และที่บรรพชาเป็นสามเณร ๖ รูปได้แก่
1.สามเณรชัยลังก๋า               (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระซึ่งปัจจุบันท่าน คือ หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา)
2. สามเณรดา                        (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
3. สามเณรดา                        (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
4. สามเณรแก้ว                     (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
5. สามเณรแฮด                     (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
6. สามเณรอุ่น                       (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
                    ต่อมาได้ทำพิธียกยอดฉัตรองค์พระเจดีย์ และฉลององค์พระเจดีย์เป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนโดยมีครูบาเจ้าชัยลังก๋า และครูบาศรีวิชัยเป็นประธานพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ทุกคน และมีครูบาอาจารย์ ที่มีอายุพรรษาในสายน้ำแม่ปิงและใกล้เคียงมาร่วมงานบุญฉลอง อาทิ ครูบาเจ้าคำสุข วัดบ้านจั่ง และครูบาเจ้าอิน วัดนาทราย และครูบาหลายรูปหลายองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยขอท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยของท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยแรงศรัทธาของพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาและศรัทธานักศีลนักบุญทั้งหลาย ที่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยโดยไม่รับค่าตอบแทน ค่าแรงแม้แตบาทเดียว เขาทำงานเพื่อหวังประโยชน์สูงสุดในชาตินี้และชาติหน้า คือสวรรค์ชั้นฟ้า เมืองแก้วนิพพานเจ้า ขออนุโมทนาสาธุการก่อสร้างบุญครั้งนี้กับท่านด้วย สาธุ
รายชื่อพระภิกษุสามเณรและฆราวาสที่ได้มาช่วยสร้างบูรณะองค์พระเจดีย์พระบรมธาตุแก่งสร้อยในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับครูบาเจ้าชัยลังก๋าและครูบาเจ้าศรีวิชัย
รายชื่อผู้ที่บูรณะพระบรมธาตุแก่งสร้อยครั้งที่ 1 เป็นภิกษุที่มรณภาพแล้วดังนี้
1. พระครูบาเจ้าชัยลังก๋า          วัดบ้านฮั่ว
2. พระครูบาเจ้าศรีวิชัย             วัดบ้านปาง
3. พระครูบาเจ้าก้อน                 วัดแม่พริก
4. พระครูบาอินถา                    วัดนาเลี่ยง
5. พระครูบาเจ้าจันต๊ะ               วัดบ้านชั่ง แปลง ๘
6. พระครูบาเจ้าอินต๊ะ (ครูบาเผือก) วัดบ้านชั่ง แปลง ๘
รายชื่อผู้มาบูรณะที่เป็นหนาน (ทิด) ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
1. หนานสิสา              บ้านแม่หว่าง ห้วยสลา
2. หนานพุทธิมา         บ้านก้อจอก ห้วยกาน
3. หนานกันทา           บ้านก้อ ท่าหาดหยวก
4. หนานพรหมมา      บ้านก้อท่า
5. หนานอ้าย              บ้านก้อท่า
6. หนานพรหมมา      บ้านก้อท่า
7. หนานเสาร์             บ้านก้อท่า
8.  หนานแฮด              บ้านก้อท่า
9. หนานอุ่น                  บ้านก้อท่า
10. หนานแก้ว              บ้านก้อท่า
11. หนานคำ                 บ้านป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง
12 .หนานดา                  บ้านก้อจอก ห้วยขี้นก
13. หนานยวง                 บ้านแม่หว่าง
14. หนานสุข                   บ้านแม่หว่าง ห้วยกาน
15. หนานเมา                          บ้านแม่หว่าง
16. หนานปัน                          บ้านอูมวาบ
17. หนานปันน้อย                  บ้านอูมวาบ
18. หนานทา                           บ้านอูมวาบ
19. หนานหล้า                        บ้านหาดขี้หมู อ.เชียงดาว
20 .หนานทำ                           บ้านงิ้วเฒ่า อ.ดอยเต่า
21.หนานใหญ่                        บ้านเสลี่ยม อ.เชียงดาว

ผู้ที่บูรณะวัดแก่งสร้อยที่เป็นน้อย (ผู้ที่บวชเป็นสามเณรแล้วสึกออกมาเป็นฆราวาสปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)
1. น้อยเจน             บ้านแม่หว่าง แม่นารี
2. น้อยมูล              บ้านแม่หว่าง
3. น้อยสี                 บ้านก้อท่า เชียงดาว
4. น้อยตา               บ้านเสลี่ยม เชียงดาว
5. น้อยหมู              บ้านหาดขี้หมู เชียวดาว
6. น้อยเป็ง             บ้านแก่งปวง ผาต้าย
7. น้อยยอด            บ้านก้อท่า
8. น้อยใหม่             บ้านก้อท่า
9. น้อยเมือง           บ้านแปลง 1 ดอยเต่า
                 ส่วนพระครูบาเจ้าศรีลังก๋าพอเสร็จงานฉลองสมโภชพระบรมธาตุแก่งสร้อย ก็พาคณะศิษย์ของท่านออกธุดงค์ไปเมืองตื๋น เมืองม่าน ไปหลายแห่ง ตอนบั้นปลายชีวิตของพระครูบาได้ปลีกออกธุดงค์ไปเชียงแสน เชียงราย เชียงรุ้ง เชียงตุง องค์เดียว และได้แวะมาเยี่ยมญาติของท่านที่อำเภอเวียงชัย บ้านท่าขี้เหล็ก และท่านครูอาจารย์ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็มามรณภาพ ณ ที่สถานที่ตรงนี้ ขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ อาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์เล่าว่าขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ใต้ต้นไม้เขียวชอุ่ม พอท่านมรณภาพละสังขารต้นไม้นั้นก็ตายไปพร้อมกับการละสังขารของท่าน ครูบาอาจาย์เล่าว่าทุกทิศทางไร้เมฆาทั้งสี่ด้าน กระจ่างตา ลมโชยกลิ่นหอมกำใจบรรชิตไร้สุ้มเสียง สละละซึ่งสังขารไร้โทสา ไร้ทุกข์ร้อน เป็นที่นิยม หมดสิ้นแล้วอาสวะเหลือแต่อัฐาตุที่บริสุทธิ์ไว้ห้พวกเรากราบไว้บูชาท่าน
ส่วนครูบาเจ้าอินถาได้ออกธุดงค์ไปพร้อมกับครูบาเจ้าชัยลังก๋าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ๆ ก็ได้ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียวพอรู้ว่าครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่เชียงรายก็ออกติดตามไปหา แต่ท่านอาจารย์ได้มรณภาพไปก่อน ครูบาเจ้าอินถาก็มามรณภาพที่บ้านท่าขี้เหล็กเหมือนกัน
เมื่อนภาไร้เมฆบดบัง            ทั่วทุกด้านสว่างไสว
ลมพัดโชยเรื่อย ๆ ไกล          ขุนเขาไร้เสียง จำเนียงนรรจ์
วันนี้น่ายินดี หยุดชีวีที่ผูกพัน               ไร้ทุกข์โศกในทุกวัน ทั้งขันณ์ 5 ไม่พบเจอ
                         ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยพอฉลองงานสมโภชพระธาตุแก่งสร้อยแล้วก็พาคณะศิษย์ของท่านออกบำเพ็ญบุญก่อสร้างฟื้นฟูถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ก็พาคณะศิษย์ล่องเรือล่องแพไปยังบ้านนา แล้วกลับขึ้นมาสร้างพระธาตุม่อนงัวนอน (พระธาตุวัดดอยป่าตาล) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ส่วนครูบาเจ้าวงศ์ยังเป็นสามเณรอยู่ ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็พาไปธุดงค์ยังเมืองตื๋น และได้พบกับครูบามหาป่า (ครูบาพรหมจักรที่วัดจอมหมอกแล้วก็เอาครูบาเจ้าวงศ์ฝากเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้อยู่อุปฐากครูบาเจ้าพรหมจักร ณ ที่วัดจอมหมอกนี้ ส่วนท่านครูบาเจ้าลังก๋าก็ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียว วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยก็เลยขาดพระภิกษุสามเณรอยู่อุปฐากดูแล นานวันเข้าจนกลายเป็นวัดร้างไปตั้งแต่นั้นมาจนถึงเมื่อปี พ.ศ. 2537 จำได้ว่าเป็นวันวิสาขบูชา คือ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 วันที่ 16 พฤษภาคม ข้าพเจ้าได้นิมนต์ครูบาเจ้าวงศ์มาเป็นประธานสรงน้ำพระธาตุเจ้า ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าก็ดำริว่า สมควรจะบูรณะกำแพง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นวันวิสาขบูชาพอดี ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์พร้อมด้วยคณะที่มาร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุก็ลงมารับบิณฑบาตรเมื่อฉันเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็วางหินศิลาฤกษ์ก่อสร้างกำแพงขยายออกจากของเดิมด้านละสามวาครึ่ง แล้วก็มาสร้างพระวิหารในปีต่อมาสร้างสาลา ได้สร้างศาลาศรัทธาธรรมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2537 ได้สร้างพระอุโบสถน้ำเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2539 ได้สร้างศาลาชัยลังก๋านุสรณ์เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2539 ได้บูรณะพระธาตุเจดีย์ศรีฉัตรแก้วหลังถ้ำเสือ เมื่อ ๒๒ ก.ย. 2539 วันที่ 30 มิ.ย. 2539 ได้หล่อพระประธานในพระวิหารหลวง หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว 1 องค์ พระประธานในพระอุโบสถน้ำ 1 องค์  พระประธานบนรอยพระพุทธบาทแก่งจ๋าง 1 องค์  พระประธานข้างพระธาตุหลวงแก่งสร้อย 1 องค์ หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว เท่ากันหมดเลย ลุมาถึงปีพ.ศ.2541 วันที่ 9-11 พ.ค. เป็นเดือน 8 ออก 13 –14 – 15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชา ได้นิมนต์พระสงฆ์มารวมฉลองปอยหลวง พระอุโบสถ มีพระครูพินิจสารธรรม และครูปัญญาพรหมคุณมาเป็นประธานในงานฉลอง พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบทพระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบท พระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเวลาฉันเช้าเสร็จแล้วก็ได้นิมนต์ พระมหาเถรานุเถรขึ้นไปบนลานพระธาตุ เพื่อทำการสวดถอน วางศิลาฤกษ์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ก่อสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้คงรูปแบบเดิมในสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย การก่อสร้างได้ดำเนินไปและได้มีท่านพระครูปัญญาธรรมวัตร พร้อมด้วยคณะศิษย์มาช่วยบูรณะในครั้งนี้ ลุมาถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ได้นิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธานในงานบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุหลวงแก่งสมัย พร้อมกับว่าเจ้าภาพจะยกฉัตรขึ้นแต่ช่างมาทำเจดีย์ไม่สวย ไม่ได้ตามแบบที่พระครูบาเจ้าบอกไว้ ก็เลยเรียนท่านพระครูบาว่าจะขอแก้ไขให้ได้รูปทรงขอพระครูบาเจ้าเมตตาอย่ายกยอดฉัตรขึ้นเต๊อะ พอทำพิธีบรรจุเสร็จก็ได้หาช่างมาแก้ไขและหุ้มแผ่นตองจังโก้ มาจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชาได้จัดประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุแก่งสร้อย ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรมาร่วมทำบุญร้อยกว่ารูปมีท่านพระครูพินิจสารธรรม (ครูบาพรรณ) และท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) มาเป็นประธาน สรงน้ำและได้ยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดพระบรมธาตุแก่งสร้อย พอเสร็จงานก็ได้ไปกราบเรียนพระครูบาเจ้าฯ ท่านก็กำหนดงานฉลองสมโภชณ์พระบรมธาตุขี้นอีกครั้งเป็นเวลา 5 คืน 5 วัน และได้ทำพิธีตานใช้ตานแทนของที่มีวัดวาอารามพระธาตุเจดีย์วิหารที่ถูกน้ำท่วมในการสร้างเมขื่อน ตรงกับที่ได้กราบอาราธนานิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธาน ในงานฉลองสมโภชน์และได้กราบอารธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาบุญชุบ วัดเกาะวารุกราม อ.เมือง จ.ลำปาง มาเป็นประธานสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ อีก 50 กว่ารูป เจริญพระพุทธมนต์และรับสังฆทานในงานฉลองสมโภชน์พระบรมธาตุ เจดีย์ที่ได้ก่อสร้างครอบองค์เดิมให้ใหญ่กว่าของเดิม ลุมาถึงเดือน 8 ขึ้น 13 – 14 –15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชาก็ได้ จัดงานประเพณีขึ้นไหว้สารสงน้ำพระบรมธาตุเจ้าแก่งสร้อย ตรงกับวันที่ 15 – 16 – 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2553 ปีนี้พระครูบาเจ้าพรรณไม่ได้มาแต่ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) วัดพิงคารามวังหม้อ อ.ดอยเต่า ท่านได้เมตตามางานตลอด พอวันที่ 16 พ.ค. ตอนเย็นลูกศิษย์ได้มาแจ้งข่าวว่าพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้ป่วยหนักอยู่โรงพยาบาลลานนาอาการหนักมาก เพราก่อนที่จะจัดงานนี้ข้าพเจ้าก็ได้ขึ้นไปกราบท่านเมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้สนทนากับท่านเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ ท่านก็ได้สั่งหลาย ๆ อย่างก่อนที่จะกราบลาท่านลงมาท่านบอกว่าพรุ่งนี้จะไปโรงพยาบาล ข้าพเจ้าก็เห็นว่าท่านอาการดีปรกติอยู่ นึกว่าไปตรวจร่างกายตามปกติ พอได้ข่าวจากลูกศิษย์ก็ตกใจ พอตกเย็นมาก็ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรขึ้นวิหารโดยมีท่านพระครูปัญญาพรหมคุณเป็นประธาน สวดเจริญพระพุทธมนต์ ถวายให้พระครูบาเจ้าฯ พอพระท่านสักเคจบไฟก็ดับลง สักพักหนึ่งก็ติดเหมือนเดิม พอเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จก็มีเทศน์ พอวันที่ 17 พ.ค. ตรงกับวันวันวิสาขบูชา ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์มาขึ้นบนวิหาร สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร ถวายให้หลวงปู่ครูบาเจ้าฯ พอท่านสักเคจบก็มีค้างคาว สองตัวบินมาวนที่พาน 5 โกฤฐาก เทียนที่พานทั้งห้าเล่มก็ดับไป พระหลายรูปร่วมทั้งข้าพเจ้าก็หันมามองหน้ากันแล้วก็สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร พอสายมาก็รับบาตร กลับมานั่งฉันข้าวในอุโบสถพร้อมพระเณรข้าพเจ้านั่งฉันข้าววกับท่านพระครูปัญญาพรหมคุณอยู่ ได้มีลูกศิษย์มาบอกว่าพระครูเจ้าชัยยวงศาได้ละขันธ์ไปแล้ว ทุกรูปวางจานข้าวเลย ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณก็ได้ให้สติว่า ธรรมดาของสังขารไม่วันใดก็วันหนึ่งที่ท่านจะต้องจากพวกเราไป แม่พระพุทธเจ้ายังดับขันธนิพานแลยเป็นธรรมของโลก อย่าเศร้าโศกเสียใจเลยเร่งทำความดีตามรอยพระครูบาเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของท่านก็สะเหมือนท่านอยู่กับเราตลอดไปหลังจากพระครูบาเจ้าได้ละสังขารไปแล้ว ข้าพเจ้าพร้อมคณะศิษย์ก็อยู่ดูแลอุปฐากก่อสร้างรักษาอยู่วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อยมาตลอด ลุมาถึงปี พ.ศ.2545 วันที่ 2 เดือนพฤศจิกายน น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ เขื่อนก็ปิดน้ำทำให้น้ำเออนองขึ้นมาท่วมวัด กำแพงตรงหน้าพระธาตุก็ได้พังลงไป นับว่าเป็นการเสียหายครั้งใหญ่ ปีต่อมาข้าพเจ้าก็บูรณะกำแพงและได้สร้างบันไดนาคขึ้นด้านทิศตะวันออก โดยการอุปถัมภ์ของโยม ดร.บุญเลิศ  มาแสง พร้อมคณะ ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มารับสังฆทานสองร้อยกว่ารูปเป็นมหาตานปางใหญ่
ตำนานพระบรมธาตุแก่งสร้อยก็ขอยุติเท่านี้แล

พระป่านิกร ชยฺยเสโน
เสนาสนะป่าอารัญญาวาสพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย

คัคจากหนังสือ กึ๊ดหาเมืองสร้อย
ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำ พระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วันที่ ๔ -๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒


วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

- การดำเนินงานขั้นที่ 1 -สมเด็จองค์ปฐมปางจักรพรรดิ ๔ ศอก


พระพุทธธรรมรังษีบรมมหาจักรพรรดิศรีล้านนา
(หลวงพ่อแก้วสารพัดนึก)
และตู้พระไตรปิฏก
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
---------------------------------------------------------------


           วันที่ 29 พฤษภาคม 2554 เดินทางไปที่โรงหล่อพุทธปฐม(ป้าเนียม) จ.อุทัยธานี(http://www.buddhapathom.com/index.php) เพื่อวางมัดจำงวดแรก 100,000.00 บาท (หนึ่งแสนบาท)ครับ
ขนาดสมเด็จองค์ปฐมปางจักรพรรดิ ๔ ศอก(แม่แบบ) เทียบกับพี่สมศักดิ์
        ส่วนพิธีบวงสรวงเททองหล่อองค์สมเด็จฯ. จะทำพิธีหล่อที่โรงหล่อพุทธปฐม เดือนมีนาคม2555 ซึ่งจะตรงกับงานประจำปีวัดท่าซุง  เสร็จจากงานประจำปี พอถึงช่วงบ่ายก็มาพร้อมกันที่โรงหล่อ ร่วมพิธีเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมฯ.เพื่อให้ลูกหลานพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้เข้าร่วมโมทนาอย่างทั่วถึงกัน
            ส่วนท่านใดที่ได้ร่วมทำบุญแต่อยู่ไกล ไม่สามารถมาร่วมพิธีได้เมื่อท่านโอนเงินแล้วกรุณาแจ้งชื่อ-สกุลทาง Email : surathlim@gmail.com เพื่อทางทีมงานนำชื่อท่านและครอบครัว เข้าร่วมพิธีบวงสรวงหรือพิธีสวดมนต์ เพื่อขอพรพระรัตนตรัย-พรหม-เทวดา เมตตาคุ้มครองทุกๆท่านปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงคล่องตัวและสมหวังทุกประการหรือตามแต่ท่านอธิฐานจิตครับ
            เตรียมตัวกันไว้นะครับ แล้วเมื่อมีกำหนดการที่แน่นอนแล้ว ขอเรียนเชิญไปร่วมงานมหาบุญในครั้งนี้กันนะครับ







วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

- สนับสนุนร่วมบุญมหากุศล

               ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์.
พระครูบานิกร ชยฺยเสโน
เสนาสนะป่าอารัญญาวาสพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย
---------------------------------------------------------------------


พระครูบาสง่า สันตจิตโต
วัดพระธาตุดอยกวางคำ บ้านโป่งแดง-สัญชัย ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน
(พิกัดแผนที่ 17° 58' 20.40" N  99° 3' 43.48" E)
โทร. 081-7830998
---------------------------------------------------------------------
ท่านผู้มีจิตศรัทธาต้องการร่วมมหาบุญมหากุศลและสนับสนุน
หล่อสมเด็จองค์ปฐมปางจักรพรรดิ ๔ ศอก ปิดทองประดับเพชร
"พระพุทธธรรมรังษีบรมมหาจักรพรรดิศรีล้านนา (หลวงพ่อแก้วสารพัดนึก)"
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก

สามารถร่วมบริจาคสมทบทุนได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สาขาบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อบัญชี น.ส. วิภาภรณ์ อำภา
บัญชีเลขที่  343 – 1 – 40279 – 5
ประเภทบัญชี ออมทรัพย์
สอบถามหรือแจ้งความจำนงค์
 เบอร์โทร. 089-5387317
หรือ E-Mail : surathlim@gmail.com
(เมื่อท่านโอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้งหรือmailแจ้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบอีกครั้งครับ)






หมายเหตุ ๑. คณะผู้ดำเนินงานฯ.ขออนุญาตนำเงินจากการทำบุญสร้างพระฯ. ไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับงานบุญสร้างพระฯ.ในทุกรายการ
                   ๒. หากเงินรายได้จากการทำบุญสร้างพระฯ.มีมากกว่าค่าใช้จ่ายของโครงการฯ. ขออนุญาตนำเงินที่เหลือทั้งหมดไปใช้ในโครงการอื่นๆ ในเขตพระพุทธศาสนาต่อไป โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น

ขอกราบอาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย อันมี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆพระองค์ สมเด็จองค์ปฐมเป็นองค์ต้น สมเด็จองค์ปัจจุบันเป็นที่สุด พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆพระองค์ คุณแห่งพระธรรม คุณของพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบ ๆ กันมา มีหลวงปู่ทวด หลวงปู่โต ครูบาชัยลังก๋า ครูบาศรีวิชัย ครูบาพรหมจักร ครูบาอภิชัยขาวปี หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา หลวงปู่ปานวัดบางนมโค และองค์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง เป็นที่สุด บุญบารมีแห่งพระโพธิสัตว์เจ้าทุก ๆพระองค์ ท่านท้าวมหาราชทั้งสี่ ท่านปู่ท่านย่าพระอินทร์ ท่านท้าวมหาพรหม ท่านท้าวผกาพรหม ตลอดจนถึง พรหม เทพเทวา ทั้งหลาย และพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง พระสยามเทวาธิราชและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ
ขอทุกๆพระองค์ และทุกๆท่าน ได้โปรดแผ่ความเมตตา สงเคราะห์ อนุเคราะห์ ปกป้องรักษา ท่านผู้ศรัทธาปสาทะ ทุก ๆท่าน ที่มีส่วนร่วมในงานบุญ ขอให้มีความสุขกาย สุขใจ ร่ำรวย ชุ่มชื่นใจ ไปโดยทั่วกัน และขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ท่านทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด
               หากไม่ถึงพระนิพพานเพียงใดก็ตาม ขอคำว่าไม่มีและสิ่งที่ไม่ดีจงอย่าได้บังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย และหากต้องเกิดชาติใดก็ตาม ก็ขอให้ได้พบกับพระพุทธศาสนา มีความเคารพ ตรงต่อพระรัตนตรัยนับตั้งแต่บัดนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ด้วยเทอญ