วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย
เดิมทียังไม่ได้สร้างเขื่อนภูมิพล ขึ้นกับตำบลมืดกา อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังการสร้สงเขื่อนภูมิพลแล้วปัจจุบันวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยขึ้นกับตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดแม่น้ำปิง ปืไหนดินฟ้าอากาศดีน้ำก็ขึ้นมาถึงตีนพระธาตุ ปี พ.ศ.2518 กับ พ.ศ.2545 น้ำไดัขึ้นมามาก วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยถูกล้อมไว้เป็นเกาะลอยอยู่กลางน้ำ ทิศใต้ติดหมู่บ้านที่ใกลัที่สุด คือ บ้านอูมวาบ หมู่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก คิดว่าใกล้ที่สุด คือหมู่บ้านที่ไปหาใกล้กว่าหมู่บ้านอื่น ระยะประมาณ 25 กิโลเมตรและหมู่บ้านหิดลาดนาไฮ เลยไปอีก 6 กิโลเมตร จากหมู่บ้านอูมวาบไปทางทิศตะวันตกติดกับดอยม่อนจอง ดอยม่อนจองลูกนึ้สันฐานคล้ายพระวิหาร เพราะว่าบนยอดดอยของดอยม่อนจองไม่มีต้นไม้ขึ้น อยู่ไกลๆมองคล้ายๆ หลังคาวัด เลยเรียกว่าม่อนจองหรือดอยม่อนจอง (จอง =เป็ภาษาไทยใหญ่-ไทลื้อล้านนา หมายถึง วัด) หรือเรียกว่าดอยหลังเมือง คือดอยที่สูงใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เพราะถ้าเดินจากเมืองสร้อยขึ้นถึงหลังเขาดอยลูกนี้ ก็จะเห็นเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือเมืองตื๋น หรือเมืองนันต๊ะบุรี ตามตำนานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนี้ใกล้รุ่งใกล้แจ้งคนกำลังตื่นกันพอดี ปัจจุบันคนเรียกเพื้ยนไปเป็นเมืองตื๋น เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้แจ้ง คือ เสด็จ มาถึงใกล้แจ้งใกล้สว่างพอดีเลยไว้พระเกศาธาตุที่นี่
ส่วนทิศเหนือแต่ก่อนที่จะสร้างเขื่อนภูมิพลก็ติดกับหมู่บ้านแก่งปวง บ้านหาดขี้หมู บ้านเสลี่ยม ปัจจุบันหมู่บ้านพวกนี้ได้ไปอยู่เมืองบาดาลแล้ว คือจมน้ำไปหมดเลย ปัจจุบันทิศเหนือ หมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดของวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย ก็คือ หมู่บ้านก้อ อำเภอลื้ จังหวัดลำพูน ระยะทางไปประมาณ 40 กิโลเมตร ตั้งแต่บ้านเมืองเกิดภัยสงครามกับพม่า บ้านเมืองก็เลยแตกสาแหรกขาด วัดพระธาตุเจ้าก็เลยร้างไปพร้อมกับเมือง และได้สร้างเขื่อนยันฮีขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำให้น้ำท่วมบ้านเมืองไปหลายบ้านเมือง ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์บอกว่าตั้งแต่เขื่อนขึ้นมาถึงเมืองฮอด มีวัดทั้งหมด 999 วัด เฉพาะเมืองสร้อยก็มี 99 วัด แล้วหัวเมืองอื่นๆอีก คือเมืองแส บ้างก็เรียกหนองแสงโบราณวัตถุยังปรากฏให้เห็นอยู่มีกำแพงสูง 2 เมตรกว่า ความหนาประมาณ 1 เมตร คงจะเป็นที่ตั้งของพระราชฐาน พระราชวังโบราณ ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นที่น่าศึกษามาก ซากปรักหักพังของวัดวาอารามที่ปรากฏให้เห็นไม่สามารถจะนับได้ เมืองที่ร้างไป คือ เมืองสร้อย เมืองหนองแสง เมืองดินแดง เมืองขอบดังคำ ตามจารึกในคัมภีร์ใบลานที่ได้มาถ้ำห้วยถาง ธรรมผูก 8 บาลี บาราชิกกัณดะ พระยาหลวง เจ้าต๋นเป๋นเอ้กะมันติ สร้างไว้กับปิฏกวัดเจียงหลวงนั้นแล จุลศักราช 1066 ตั๋วปี๋ จนถึงปัจจุบันอายุก็ประมามณ 304 ปี ก็ประมาณ พ.ศ. 2248
ตำนานเมืองสร้อยคัมภีร์ใบลานต้นฉบับของวัดชัยมงคล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตอนท้ายได้จารึกไว้ว่า " ปริปุณณ แล้วยามฉันเพลแล จุลศักราชได้ 1252 ตัวปลีเมิงเม้าแล ปลีกัดเหม้า เข้ามาในเดือนสิบ แรมสิบค่ำ (วัน) 6 แก่ข้าแล ข้าเขียนธัมม์ผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนา 5 พันพระวัสสา แด่นิพพานํ ปรมํ สุก์ขํ คันธาภิกขุ ริกฺธิต หื้อพ่อออกเจ้าน้อยหลวงคำตื้อแลปางเมื่ออยู่ สบสระเหลี่ยมแล " พ.ศ. 2434
เจ้าน้อยคำตื้อคงสืบเชื้อสายมาจากเมืองสร้อย และมากิ๋นเมืองต๋าม หนองสี่ฮ้อย แลพสบสระเหลี่ยม
ตำนานพระเกศาเมืองสร้อย วัดบ้านจั่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ดั่งข้อความในตอนท้ายว่า .เสด็จแล้ววัน 5 ยามเที่ยงแล นายเหย สักกพัดไว้ 1259 ตัวปลีเมิงเล้าแลนายเหย เดือน 12 ออก 13 ค่ำ พร่ำว่าได้วัน 5 แล พระตนน้อยสามเณรสุยะริจสร้างปางเมื่ออยู่วัดบ้านชั่ง แก้วกว้างท่าช้าง สรีบุญเรือง วันนั้นแล อก พุทโธ ชะดาบ่ทันแล้ว ย้อนใคร่แอ่วและนายเหย ข้าบ่ช่างเขียน ขีดแต้มตามฮีตฮอยพทัตหื้อเจ้าคอยแปง ค่อยแยง ค่อยรัด จิ่มเตอะ เจ้าใจข้าบ่อพอตั้งเท่าใดแล นิพพานํ ปรมํ สุขํธุรํ แด่เทอญเจ้า เจ้าเหยเหย คงจะอยู่ในสมัยแผ่นดินของพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่ล้านนาเฮา ครูบาอาจารย์ และคนโบราณ แต่ก่อนท่านกลัวพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสูญหาย พอรู้ว่าบ้านเมืองเกิดภัยสงครามก็ชานกันเอาพระคัมภีร์ใบลานพระไครปิฏกเก็บไว้ยังถ้ำที่ได้มาจากถ้ำห้วยยอมหลวงมีอายุ 500 กว่าปีเศา เอาไปถวายให้ท่านพระราชพรหมจารย์ ท่านอาจารย์ทอง วัดพระธศรีจอมทอง ท่านจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับล้านนาไทย ปัจจุบันต้นฉบับได้เก็บไว้ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม วัดท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์ จะเห็นได้ว่าบ้านเมืองเป็นชุมชนหนาแน่นไมาใช่น้อย ตามออกในตำนานเมืองตื๋นว่า บ้านอูมวาบ หินลาดนาไฮ หนองแสง ดินแดง ขอบด้ง ก็คงจะอยู่ในยุคของเมืองร้างไปประมาณสามสี่ร้อยปีผ่านมาวัดพระธาตุแก่งสร้อยก็เลยอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายกลางป่าไม้ไพรดง จนมาถึงยุคครูบาเจ้าชัยลังก๋า หรือเรียกกันตามประสาชาวบ้านว่า ครูบาเจ้าลังก๋า ครูบาเจ้าลังก๋า เดิมทีท่านมีบ้านเกิดเมืองนอนอยู่ที่บ้านฮั่ว ท่านเกิดวันอังคาร ปีเม็ด (ปีแพะ) เมื่อปี พ.ศ. 2400 อยู่ในตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของพ่ออนันต์ ส่วนมารดาของท่านนั้นไม่ทราบชื่อ พออายุครบบวชพระท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ถือเคร่งในธุดงค์วัตรมาตลอด ท่านก็ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร และมีพระหลานชายของท่านอีกองค์หนึ่ง เมื่ออุปสมบทแล้วก็ออกติดตามเป็นพระอุปฐากท่านครูบาเจ้าลังก๋า พระหลานชายของท่านองค์นี้ คือ ท่านพระครูบาอินถา เป็นบุตรของพ่อน้อยอินทร์ตาและแม่หน่อ ใจบุญเรือง บ้านเดิมก็อยู่บ้านฮั่วเหมือนกัน ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์เล่าว่าครูบาเจ้าลังก๋าเป็นพระสันโดษอยู่อย่างง่ายเคร่ง จริยวัตรปฏิบัติ (นี้ไม่ได้เขียนนอกเรื่อง เพราะประวัติของครูบาอาจารย์นับวันยิ่งไม่มีคนรู้จัก) เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ติดกับที่อยู่ ท่านอาจารย์ครูบาเล่าว่า ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ที่ไหนไม่เกิน ๗ วัน ถ้ามีศรัทธานิมนต์ท่านก็อยู่โปรดเมตตาอยู่ฉลองศรัทธา สัก 2 – 3 วัน ก็ออกธุดงค์ไปต่อ เมื่อปี พ.ศ. 2465 ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมคณะของท่านออกธุดงค์มาจากวัดพระบาทห้วยต้มมากราบพระธาตุแก่งสร้อย เห็นว่าสถานที่นี่เหมาะแก่การเจริญเมตตาภาวนาสัปยะดี คณะของท่านก็พักปฏิบัติอยู่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ส่วนตัวของท่านครูบาเจ้าลังก๋า ก็พักอยู่ถ่ำเล็กบ้าง ถ่ำเสือห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 60 วา จากองค์พระธาตุลงไปหาม่น้ำปิงประมาณ 500 วา ติดกับแม่น้ำปิงก็มีพวกชาวบ้านอยู่ประมาณ 4 – 5 หลังคาเรือน เป็นพวกเลี้ยงวัวและหาปลาก็ขอนิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมด้วยคณะของท่านอยู่ปฏิบัติธรราที่นี่ เขาจะรับอุปฐากโดยพ่อบุญทา โก้ง เป็นคนบ้านก้อพาครอบครัวมาเลี้ยงวัวและหาปลา อยู่ที่ท่าวัดพระธาตุแก่งสร้อย หลวงพ่อจันทร์ตาเป็นลูกของพ่อบุญทา ได้เล่าให้ฟังว่าตัวท่านก็เกิดบ้านก้อ แต่มาโตที่แก่งสร้อย ท่านอายุอ่อนกว่าท่านครูบาเจ้าวงค์ประมาณ 2 ปี ท่านเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งพ่อบุญทาได้ไปทำความสะอาดที่องค์พระธาตุแก่งสร้อย ซึ่งรกร้างมานานหลายร้อยปีไม่มีใครมาดูแลมีแต่เครือเถาวัลย์ปกคลุมไปหมด คณะของพ่อบุญทาก็ทำความสะอาดถากถางเอาเครือเถาวัลย์ออกจากพระองค์ธาตุก็หักเหลือครึ่งองค์ พอตกกลางคืนหลับฝันไปว่าเทวดามาถามว่า ท่านจะมาสร้างหรือถึงได้มาแผ้วถางพ่อบุญทาก็ตอบไปว่าบ่สร้าง บ่มีบุญ แต่มาอุปฐากไหว้สาบ่ดาย
อยู่ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2467 ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้มอบให้พระสิระสาพร้อมคณะมาค้นหาพระธาตุแก่งสร้อย ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกว่าจากน้ำปิงไปประมาณ 500 วา เจ้าของเขารออยู่ที่หน้าวัดนั้น และคณะของพระสิระสามาก็พบพ่อบุญทาและคณะของครูบาเจ้าชัยลังก๋า ก็ขึ้นมาดูองค์พระธาตุก็กลับไปบอกแก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย แห่งวัดจ๋อมศรีทรายมูลบุญเรือง บ้านปาง ท่านก็มอบหมายให้ลูกศิษย์ของท่าน 3 รูป นำโดย พระสิระสา พระพุทธิมา และพระก้อนได้นำศรัทธาพระภิกษุสามเณรปั้นดินจี่ ที่วัดก้อต้าปิงเหนือเสร็จแล้วได้นำอิฐลงเรือล่องแพมายังวัดแก่งสร้อยแล้ว คณะลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยก็นิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานในการบูรณะก่อสร้างพระธาตุแก่งสร้อย เพราะครูบาเจ้าชัยลังก๋ามีอายุพรรษาแก่กว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยไป 18 ปี ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยตอนนั้นท่านอายุได้ 49 ปี ส่วนพระอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์ตอนนั้นท่านยังเป็นขะโยม อยู่อุปฐากรับใช้ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ได้ 12 ปี ส่วนท่านครูบาเจ้าศรีชัยลังก๋าอายุได้ 67 ปี ยังแข็งแรงอยู่จากนั้นพระสิระสาได้ให้โยมที่ติดตามมาด้วยไปนิมนต์พระสงฆ์ที่มีอายุพรรษา 20 รูปโดยมีครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานทำพธีสวดถอน เริ่มตั้งวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2467 จุลศักราชได้ 1286 ปีไจ้ (ชวด) การก่อสร้างได้ดำเนินการงานไปอย่างต่อเนื่อง จนมาถึง พ.ศ. 2468 พระครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็ได้อุปสมบทลูกศิษย์ของท่านเป็น พระภิกษุ ๔ รูป ได้แก่
1. พระภิกษุสุก (สึกแล้ว)
2. พระภิกษุเมา (สึกแล้ว)
3. พระภิกษุหล้า (สึกแล้ว)
4. พระภิกษุอินถา (องค์นี้เป็นพระอุปฐากของครูบาเจ้าชัยลังก๋า)
และที่บรรพชาเป็นสามเณร ๖ รูปได้แก่
1.สามเณรชัยลังก๋า (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระซึ่งปัจจุบันท่าน คือ หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา)
2. สามเณรดา (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
3. สามเณรดา (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
4. สามเณรแก้ว (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
5. สามเณรแฮด (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
6. สามเณรอุ่น (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
ต่อมาได้ทำพิธียกยอดฉัตรองค์พระเจดีย์ และฉลององค์พระเจดีย์เป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนโดยมีครูบาเจ้าชัยลังก๋า และครูบาศรีวิชัยเป็นประธานพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ทุกคน และมีครูบาอาจารย์ ที่มีอายุพรรษาในสายน้ำแม่ปิงและใกล้เคียงมาร่วมงานบุญฉลอง อาทิ ครูบาเจ้าคำสุข วัดบ้านจั่ง และครูบาเจ้าอิน วัดนาทราย และครูบาหลายรูปหลายองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยขอท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยของท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยแรงศรัทธาของพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาและศรัทธานักศีลนักบุญทั้งหลาย ที่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยโดยไม่รับค่าตอบแทน ค่าแรงแม้แตบาทเดียว เขาทำงานเพื่อหวังประโยชน์สูงสุดในชาตินี้และชาติหน้า คือสวรรค์ชั้นฟ้า เมืองแก้วนิพพานเจ้า ขออนุโมทนาสาธุการก่อสร้างบุญครั้งนี้กับท่านด้วย สาธุ
รายชื่อพระภิกษุสามเณรและฆราวาสที่ได้มาช่วยสร้างบูรณะองค์พระเจดีย์พระบรมธาตุแก่งสร้อยในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับครูบาเจ้าชัยลังก๋าและครูบาเจ้าศรีวิชัย
รายชื่อผู้ที่บูรณะพระบรมธาตุแก่งสร้อยครั้งที่ 1 เป็นภิกษุที่มรณภาพแล้วดังนี้
1. พระครูบาเจ้าชัยลังก๋า วัดบ้านฮั่ว
2. พระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง
3. พระครูบาเจ้าก้อน วัดแม่พริก
4. พระครูบาอินถา วัดนาเลี่ยง
5. พระครูบาเจ้าจันต๊ะ วัดบ้านชั่ง – แปลง ๘
6. พระครูบาเจ้าอินต๊ะ (ครูบาเผือก) วัดบ้านชั่ง – แปลง ๘
รายชื่อผู้มาบูรณะที่เป็นหนาน (ทิด) ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
1. หนานสิสา บ้านแม่หว่าง – ห้วยสลา
2. หนานพุทธิมา บ้านก้อจอก – ห้วยกาน
3. หนานกันทา บ้านก้อ – ท่าหาดหยวก
4. หนานพรหมมา บ้านก้อท่า
5. หนานอ้าย บ้านก้อท่า
6. หนานพรหมมา บ้านก้อท่า
7. หนานเสาร์ บ้านก้อท่า
8. หนานแฮด บ้านก้อท่า
9. หนานอุ่น บ้านก้อท่า
10. หนานแก้ว บ้านก้อท่า
11. หนานคำ บ้านป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง
12 .หนานดา บ้านก้อจอก – ห้วยขี้นก
13. หนานยวง บ้านแม่หว่าง
14. หนานสุข บ้านแม่หว่าง – ห้วยกาน
15. หนานเมา บ้านแม่หว่าง
16. หนานปัน บ้านอูมวาบ
17. หนานปันน้อย บ้านอูมวาบ
18. หนานทา บ้านอูมวาบ
19. หนานหล้า บ้านหาดขี้หมู อ.เชียงดาว
20 .หนานทำ บ้านงิ้วเฒ่า อ.ดอยเต่า
21.หนานใหญ่ บ้านเสลี่ยม อ.เชียงดาว
ผู้ที่บูรณะวัดแก่งสร้อยที่เป็นน้อย (ผู้ที่บวชเป็นสามเณรแล้วสึกออกมาเป็นฆราวาสปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)
1. น้อยเจน บ้านแม่หว่าง – แม่นารี
2. น้อยมูล บ้านแม่หว่าง
3. น้อยสี บ้านก้อท่า – เชียงดาว
4. น้อยตา บ้านเสลี่ยม – เชียงดาว
5. น้อยหมู บ้านหาดขี้หมู – เชียวดาว
6. น้อยเป็ง บ้านแก่งปวง – ผาต้าย
7. น้อยยอด บ้านก้อท่า
8. น้อยใหม่ บ้านก้อท่า
9. น้อยเมือง บ้านแปลง 1 ดอยเต่า
ส่วนพระครูบาเจ้าศรีลังก๋าพอเสร็จงานฉลองสมโภชพระบรมธาตุแก่งสร้อย ก็พาคณะศิษย์ของท่านออกธุดงค์ไปเมืองตื๋น เมืองม่าน ไปหลายแห่ง ตอนบั้นปลายชีวิตของพระครูบาได้ปลีกออกธุดงค์ไปเชียงแสน เชียงราย เชียงรุ้ง เชียงตุง องค์เดียว และได้แวะมาเยี่ยมญาติของท่านที่อำเภอเวียงชัย บ้านท่าขี้เหล็ก และท่านครูอาจารย์ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็มามรณภาพ ณ ที่สถานที่ตรงนี้ ขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ อาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์เล่าว่าขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ใต้ต้นไม้เขียวชอุ่ม พอท่านมรณภาพละสังขารต้นไม้นั้นก็ตายไปพร้อมกับการละสังขารของท่าน ครูบาอาจาย์เล่าว่าทุกทิศทางไร้เมฆาทั้งสี่ด้าน กระจ่างตา ลมโชยกลิ่นหอมกำใจบรรชิตไร้สุ้มเสียง สละละซึ่งสังขารไร้โทสา ไร้ทุกข์ร้อน เป็นที่นิยม “หมดสิ้นแล้วอาสวะเหลือแต่อัฐาตุ” ที่บริสุทธิ์ไว้ห้พวกเรากราบไว้บูชาท่าน
ส่วนครูบาเจ้าอินถาได้ออกธุดงค์ไปพร้อมกับครูบาเจ้าชัยลังก๋าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ๆ ก็ได้ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียวพอรู้ว่าครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่เชียงรายก็ออกติดตามไปหา แต่ท่านอาจารย์ได้มรณภาพไปก่อน ครูบาเจ้าอินถาก็มามรณภาพที่บ้านท่าขี้เหล็กเหมือนกัน
เมื่อนภาไร้เมฆบดบัง ทั่วทุกด้านสว่างไสว
ลมพัดโชยเรื่อย ๆ ไกล ขุนเขาไร้เสียง จำเนียงนรรจ์
วันนี้น่ายินดี หยุดชีวีที่ผูกพัน ไร้ทุกข์โศกในทุกวัน ทั้งขันณ์ 5 ไม่พบเจอ
ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยพอฉลองงานสมโภชพระธาตุแก่งสร้อยแล้วก็พาคณะศิษย์ของท่านออกบำเพ็ญบุญก่อสร้างฟื้นฟูถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ก็พาคณะศิษย์ล่องเรือล่องแพไปยังบ้านนา แล้วกลับขึ้นมาสร้างพระธาตุม่อนงัวนอน (พระธาตุวัดดอยป่าตาล) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ส่วนครูบาเจ้าวงศ์ยังเป็นสามเณรอยู่ ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็พาไปธุดงค์ยังเมืองตื๋น และได้พบกับครูบามหาป่า (ครูบาพรหมจักรที่วัดจอมหมอกแล้วก็เอาครูบาเจ้าวงศ์ฝากเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้อยู่อุปฐากครูบาเจ้าพรหมจักร ณ ที่วัดจอมหมอกนี้ ส่วนท่านครูบาเจ้าลังก๋าก็ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียว วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยก็เลยขาดพระภิกษุสามเณรอยู่อุปฐากดูแล นานวันเข้าจนกลายเป็นวัดร้างไปตั้งแต่นั้นมาจนถึงเมื่อปี พ.ศ. 2537 จำได้ว่าเป็นวันวิสาขบูชา คือ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 วันที่ 16 พฤษภาคม ข้าพเจ้าได้นิมนต์ครูบาเจ้าวงศ์มาเป็นประธานสรงน้ำพระธาตุเจ้า ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าก็ดำริว่า สมควรจะบูรณะกำแพง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นวันวิสาขบูชาพอดี ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์พร้อมด้วยคณะที่มาร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุก็ลงมารับบิณฑบาตรเมื่อฉันเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็วางหินศิลาฤกษ์ก่อสร้างกำแพงขยายออกจากของเดิมด้านละสามวาครึ่ง แล้วก็มาสร้างพระวิหารในปีต่อมาสร้างสาลา ได้สร้างศาลาศรัทธาธรรมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2537 ได้สร้างพระอุโบสถน้ำเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2539 ได้สร้างศาลาชัยลังก๋านุสรณ์เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2539 ได้บูรณะพระธาตุเจดีย์ศรีฉัตรแก้วหลังถ้ำเสือ เมื่อ ๒๒ ก.ย. 2539 วันที่ 30 มิ.ย. 2539 ได้หล่อพระประธานในพระวิหารหลวง หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว 1 องค์ พระประธานในพระอุโบสถน้ำ 1 องค์ พระประธานบนรอยพระพุทธบาทแก่งจ๋าง 1 องค์ พระประธานข้างพระธาตุหลวงแก่งสร้อย 1 องค์ หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว เท่ากันหมดเลย ลุมาถึงปีพ.ศ.2541 วันที่ 9-11 พ.ค. เป็นเดือน 8 ออก 13 –14 – 15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชา ได้นิมนต์พระสงฆ์มารวมฉลองปอยหลวง พระอุโบสถ มีพระครูพินิจสารธรรม และครูปัญญาพรหมคุณมาเป็นประธานในงานฉลอง พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบทพระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบท พระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเวลาฉันเช้าเสร็จแล้วก็ได้นิมนต์ พระมหาเถรานุเถรขึ้นไปบนลานพระธาตุ เพื่อทำการสวดถอน วางศิลาฤกษ์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ก่อสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้คงรูปแบบเดิมในสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย การก่อสร้างได้ดำเนินไปและได้มีท่านพระครูปัญญาธรรมวัตร พร้อมด้วยคณะศิษย์มาช่วยบูรณะในครั้งนี้ ลุมาถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ได้นิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธานในงานบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุหลวงแก่งสมัย พร้อมกับว่าเจ้าภาพจะยกฉัตรขึ้นแต่ช่างมาทำเจดีย์ไม่สวย ไม่ได้ตามแบบที่พระครูบาเจ้าบอกไว้ ก็เลยเรียนท่านพระครูบาว่าจะขอแก้ไขให้ได้รูปทรงขอพระครูบาเจ้าเมตตาอย่ายกยอดฉัตรขึ้นเต๊อะ พอทำพิธีบรรจุเสร็จก็ได้หาช่างมาแก้ไขและหุ้มแผ่นตองจังโก้ มาจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชาได้จัดประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุแก่งสร้อย ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรมาร่วมทำบุญร้อยกว่ารูปมีท่านพระครูพินิจสารธรรม (ครูบาพรรณ) และท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) มาเป็นประธาน สรงน้ำและได้ยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดพระบรมธาตุแก่งสร้อย พอเสร็จงานก็ได้ไปกราบเรียนพระครูบาเจ้าฯ ท่านก็กำหนดงานฉลองสมโภชณ์พระบรมธาตุขี้นอีกครั้งเป็นเวลา 5 คืน 5 วัน และได้ทำพิธีตานใช้ตานแทนของที่มีวัดวาอารามพระธาตุเจดีย์วิหารที่ถูกน้ำท่วมในการสร้างเมขื่อน ตรงกับที่ได้กราบอาราธนานิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธาน ในงานฉลองสมโภชน์และได้กราบอารธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาบุญชุบ วัดเกาะวารุกราม อ.เมือง จ.ลำปาง มาเป็นประธานสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ อีก 50 กว่ารูป เจริญพระพุทธมนต์และรับสังฆทานในงานฉลองสมโภชน์พระบรมธาตุ เจดีย์ที่ได้ก่อสร้างครอบองค์เดิมให้ใหญ่กว่าของเดิม ลุมาถึงเดือน 8 ขึ้น 13 – 14 –15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชาก็ได้ จัดงานประเพณีขึ้นไหว้สารสงน้ำพระบรมธาตุเจ้าแก่งสร้อย ตรงกับวันที่ 15 – 16 – 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2553 ปีนี้พระครูบาเจ้าพรรณไม่ได้มาแต่ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) วัดพิงคารามวังหม้อ อ.ดอยเต่า ท่านได้เมตตามางานตลอด พอวันที่ 16 พ.ค. ตอนเย็นลูกศิษย์ได้มาแจ้งข่าวว่าพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้ป่วยหนักอยู่โรงพยาบาลลานนาอาการหนักมาก เพราก่อนที่จะจัดงานนี้ข้าพเจ้าก็ได้ขึ้นไปกราบท่านเมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้สนทนากับท่านเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ ท่านก็ได้สั่งหลาย ๆ อย่างก่อนที่จะกราบลาท่านลงมาท่านบอกว่าพรุ่งนี้จะไปโรงพยาบาล ข้าพเจ้าก็เห็นว่าท่านอาการดีปรกติอยู่ นึกว่าไปตรวจร่างกายตามปกติ พอได้ข่าวจากลูกศิษย์ก็ตกใจ พอตกเย็นมาก็ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรขึ้นวิหารโดยมีท่านพระครูปัญญาพรหมคุณเป็นประธาน สวดเจริญพระพุทธมนต์ ถวายให้พระครูบาเจ้าฯ พอพระท่านสักเคจบไฟก็ดับลง สักพักหนึ่งก็ติดเหมือนเดิม พอเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จก็มีเทศน์ พอวันที่ 17 พ.ค. ตรงกับวันวันวิสาขบูชา ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์มาขึ้นบนวิหาร สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร ถวายให้หลวงปู่ครูบาเจ้าฯ พอท่านสักเคจบก็มีค้างคาว สองตัวบินมาวนที่พาน 5 โกฤฐาก เทียนที่พานทั้งห้าเล่มก็ดับไป พระหลายรูปร่วมทั้งข้าพเจ้าก็หันมามองหน้ากันแล้วก็สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร พอสายมาก็รับบาตร กลับมานั่งฉันข้าวในอุโบสถพร้อมพระเณรข้าพเจ้านั่งฉันข้าววกับท่านพระครูปัญญาพรหมคุณอยู่ ได้มีลูกศิษย์มาบอกว่าพระครูเจ้าชัยยวงศาได้ละขันธ์ไปแล้ว ทุกรูปวางจานข้าวเลย ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณก็ได้ให้สติว่า “ธรรมดาของสังขารไม่วันใดก็วันหนึ่งที่ท่านจะต้องจากพวกเราไป แม่พระพุทธเจ้ายังดับขันธนิพานแลยเป็นธรรมของโลก อย่าเศร้าโศกเสียใจเลยเร่งทำความดีตามรอยพระครูบาเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของท่านก็สะเหมือนท่านอยู่กับเราตลอดไป” หลังจากพระครูบาเจ้าได้ละสังขารไปแล้ว ข้าพเจ้าพร้อมคณะศิษย์ก็อยู่ดูแลอุปฐากก่อสร้างรักษาอยู่วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อยมาตลอด ลุมาถึงปี พ.ศ.2545 วันที่ 2 เดือนพฤศจิกายน น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ เขื่อนก็ปิดน้ำทำให้น้ำเออนองขึ้นมาท่วมวัด กำแพงตรงหน้าพระธาตุก็ได้พังลงไป นับว่าเป็นการเสียหายครั้งใหญ่ ปีต่อมาข้าพเจ้าก็บูรณะกำแพงและได้สร้างบันไดนาคขึ้นด้านทิศตะวันออก โดยการอุปถัมภ์ของโยม ดร.บุญเลิศ มาแสง พร้อมคณะ ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มารับสังฆทานสองร้อยกว่ารูปเป็นมหาตานปางใหญ่
ตำนานพระบรมธาตุแก่งสร้อยก็ขอยุติเท่านี้แล
พระป่านิกร ชยฺยเสโน
เสนาสนะป่าอารัญญาวาสพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย
คัคจากหนังสือ กึ๊ดหาเมืองสร้อย”
ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำ พระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วันที่ ๔ -๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น