วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

- ตำนานพระธาตุเมืองสร้อย


วัดพระธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
 
ตำนานพระธาตุเมืองสร้อย
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ สาธุ สุปิ นะสัปปุริสสะ
                    ทั้งหลายจักกล่าวด้วย สะริกาตุพระพุทธเจ้ามาตั้งอยู่ในประเทศไทยเรานี้ในทิศทั้งหลาย 23 แห่ง ตำนานรอยพระพุทธบาท 10 แห่ง พระพุทธเจ้ามาตั้งไว้ในประเทศไทย บุคคลผู้มีปัญญาและมีบุญพึงรู้ดังนี้เถิด ตามตำนานจักกล่าว อุมะ คือเมืองสร้อยอุบัติแต่ต้นมาดังนี้ ตั้งแต่แรกพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สัพพัญญูเป็นครูแก่โลกนานได้ 35 วัสสาก็อยู่ในป่าเชตะวะนอาราม ยังมีในคืนหนึ่งพุทธเจ้าอยู่ในคันธกุฏิ ยามใกล้รุ่งพระพุทธเจ้าก็รำพึงว่าดังนี้ ในกาลบัดนี้อายุแห่งตถาคตก็ได้ 70 พรรษาแล้ว เมื่ออายุแห่งเราตถาคตก็จักเข้าสู่นิพพานเราตถาคตก็จะอธิฐาน สีระร่างตถาคตให้ย่อยเป็น 3 ประการ เพื่อให้คนและเทวดาทั้งหลายนำไปแจกให้เป็นที่กราบไหว้แก่คนและเทวดาทั้งหลาย เหมือนดุจดั่งพระตถาคตยังมีชีวิตอยู่นั้นแล เพราะเหตุอายุของตถาคตนี้น้อยนักสัตว์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาไม่ทั่วถึงกัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่บังเกิดมาแล้วในโลกแต่ก่อน ได้นิพพานไปแล้วทุกพระองค์นั้น หากอธิฐานยังไว้พระเกศา พระธาตุและพระพุทธบาทไว้ในที่ใด เราตถาคตก็จักไปทำนายไว้ยังที่นั้น ตามอัจฉริยะประเพณีแห่งพระพุทธเจ้ามาแต่ก่อนทุกพระองค์นั้นเถิด ก่อนออกวัสสาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ 4 รูป รูปหนึ่งชื่อโสภะ รูปหนึ่งชื่ออะนุตตะระ รูปหนึ่งชื่อรัตตนะ รูปหนี่งชื่ออะนันทา มีพระอินทร์เป็นผู้ถือบังสูรย์ไปกับพระพุทธเจ้า และมีพระเจ้าอโศกราชผู้ครองเมืองกุสินารายน์ไปเป็นอุบาสกอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าโดยถือไม้เท้า รองเท้า ตามหลังพระพุทธเจ้าออกจากป่าเชตะวันอาราม เมื่อแรม 1 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี่ยงเหนือ) โดยเสด็จพระราชดำเนินไปสั่งสอนคนและเทวดาทั้งหลายในบ้านน้อยเมืองใหญ๋ต่างๆ คือไปเมืองกุสินารายน์ เมืองกุลา เมืองแก้ว เมืองลังกา และไปเมืองสอนตาน แล้วเลยไปเมืองจีนหลวง เมืองฮ้อ เมืองพายัพนทีตามลำดับ พรพพุทธเจ้าก็ล่องมาด้วยแม่น้ำพายัพนทีที่นั้นแล้วยังมีดอยลูกหนึ่งชื่อว่า เจขุมไทย พระพุทธเจ้าก็ไว้เกศาธาตุที่นั้น แล้วจึงกล่าวแก่พระอรหันต์ทั้ง 4 รูปกับพระยาทั้งสองนั้นดังนั้น เมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว ให้ท่านทั้งหลายเอาธาตุฝ่ามือข้างขวาของตถาคตมาบรรจุไว้ที่นี้กับด้วยเกศาธาตุเถิด ครั้งพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปดอยจิมทองด้วยดังกล่าวมาในตำนานผืนหลวงนั่นแล้ว(หนังสือพระเจ้าเลียบโลก)
                 ที่นี้จักกล่าวเกศาธาตุพระพุทธเจ้าที่ชื่อดอยเมืองสร้อย(แก่งสร้อยปัจจุบัน) ก่อนแลว่าดัวนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปสั่งสอนคนทั้งหลายด้วยตามลำดับกล่าวมาแล้ว ก็เสด็จมาถึงบ้านลัวะ 20 ครัวเรือน ที่บ้านลัวะนี้เขาเทียรย่อมไปคัาขายถึงเมืองหงสาวดีที่อยู่ทางทิศตะวันตกของน้ำแม่ระมิงค์เมื่อภายหลังก็฿ปขายที่เมืองยุทธิยานั้นแล พระพุทธเจ้าแห่งเราเมื่อมารอดถึงบ้านลัวะนั้นเป็นยามกลางวันใกล้เที่ยง ลัวะทั้งหลายก็ออกมาต้อนรับพร้อมกับพากันไหว้พระพุทธเจ้า ก็กล่าวว่าเจ้ากูคงร้อนกระหายใจนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายขออาราธนาเจ้ากูยังอยู่ที่นี้ เพื่อให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้อาบองค์สรงเกตุด้วยน้ำอันเย็นก่อนเถิด ที่นั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จยืนบนก้องหินอันมีหน้าราบเรียบงามดี ที่มีทางเหนือของบ้านลัวะนั้น และโปรดให้ลัวะให้ถึงสุข 3 ประการว่าดังนี้ สุขในเมืองฟ้าดั่งพระอินทรราช สุขในแผ่นดินเมืองคนเป็นดังพระเจ้าจักรพรรดิเป็นประธาน และในเมืองแก้ว กล่าวคือ พระนิพพานนั้นแล ไม่มีเพียงแต่ล้วะเท่านั้น เหล่าเทวดา อินทร์ พรหม ทั้งหลายก็เอาจักกะวัตติราช คือน้ำทิพย์มาอาบองค์สรงเกตุพระพุทธเจ้าในวันนั้นมากนักแล ครั้นพระพุทธเจ้าสรงน้ำแล้ว ลัวะทั้งหลายก็เอาอ่างทองคำไปตักน้ำ น้ำบ่อซึม(บก) ที่หางแก่งจ๋างมาถวายให้พระพุทธเจ้สฉัน โดยกล่าวว่าเจ้ากูอาบน้ำแล้วขอให้ดื่มน้ำจืดอันเย็นนี้เถิด พระพุทธเจ้าก็บังเกิดพระมหากรุณาในหมู่ลัวะทั้งหลาย พระพุทธเจ้าก็ฉันน้ำจืดอันเย็นดีนั้นแล้วจึงกล่าวทำนายให้ลัวะทั้งหลายฟังว่าเราตถาคตดื่มน้ำจืดและเย็นนี้ต่อไปภายภาคหน้า เมื่อศาสนาตถาคตมาตั้งที่นิคมนี้ จักได้ชื่อว่า"แก่งจ๋าง"แลแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จมาริมริมฝั่งน้ำแม่ระมิงค์ ทรงขึ้นดอยทางทิศตะวันตกห่างจากแม่น้ำระมิงค์ประมาณ 300 วา พระพุทธเจ้าก็ขึ้นสู่ยอดดอยอันน้อยนั่น มีสัณฐานเป็นหลังคาเต่าไปสู่แม่น้ำระมิงค์ ไกลจากแม่น้ำระมิงค์ 300 วา ทางทิศใต้ก็มีห้วยและทางทิศเหนือก็มีห้วย หากแคว่นเป็นดอยอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านลัวะ พระพุทธเจ้าประทับอยู่บนดอยอันนั้น และยังมีทางลงไปสู่ถ้ำอันหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกที่สุดห้วยบนนั้นแล พระพุทธเจ้าปรระทับอยู่บนดอยอันใกล้ต้นไม้หมากขนุนลำต้นใหญ๋วัดได้ 8 กำ สูง 70 ศอก ลัวะทั้งหลายก็ออกมาต้อนรับพระพุทธเจ้าในที่นั้นมากนัก ยังมีลัวะผู้หนึ่งไปป่ากลับมาได้น้ำผึ้งมากระบอกหนึ่ง เดินสะพายมาเห็นพระพุทธเจ้าก็มีความยินดียิ่งนัก ลัวะผู้นั้นจึงขึ้นเอาหมากขนุนลงมาลูกหนึ่ง ลูกใหญ่ได้ 7 กำ ถวายเป็นทานแก่พระพุทธเจ้าฉันพร้อมกับน้ำผึ้งนั้นแล พนะพุทธเจ้าฉันหมากขนุนกับน้ำผึ้งเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าก็เอากระบอกน้ำผึ้งพร้อมเปลือกหมากขนุนนั้นซัด(ซัด หมายถึง การขว้างปาหรือการโบนออกไป) ออกไปตามสันลวงดอยทางทิศตะวันตก ด้วยอานุภาพเกศาพระพุทธเจ้านั้นหน่อไม้รวกก็หวาน แผ่นดินก็มีรสโอชะวันนั้นแล พระพุทธเจ้ากล่าวว่ส ม่อนดอยอันนี้งามนักหนอว่าอันนั้น ก็หากเป็นชาตินันตะรัมมะนียะอันประเสริฐเกิดที่นี่ รอยว่าเป็นที่พระพุทธเจ้าฐานปันนะตั้งไว้ทุกพระองค์นั้นแล ที่พระอรหันต์ทัทง 4 กับพระยาทั้งสอง พร้อมทั้งลัวะ 20 ครัวเรือน จึงขอถาวรกรรมอันใดอันหนึ่งของพระพุทธเจ้า เพื่อจักเอาไว้เป็นที่กราไหว้บูชาของคน และเทวดาทั้งหลายว่าอย่างนั้นวันนั้นแล  ที่นั่นพรพพุทธเจ้าจึงยกพระหัตถ์ขวาลูบยังอุตตะมะ คือ หัวแห่งพระพุทธเจ้าไก้เกศาธาตุมาเส้นหนึ่งพระพุทธเจ้าจึงยื่นเกศานั้นให้แก่พระอรหันต์ พระอรหันต์จึงยื่นให้ต่อพพยาทั้งสอง พระเจ้าอโศกจึงรับเอาเกศาธาตุใส่ในขะอุบคำลูกใหญ๋วัดได้ 8 กำ แล้วจึงขุดดินน้อยหนึ่ง จ่ดจากนั้นพะอินทร์ก็อธิฐานให้เป็นหลุมลึกได้ 52 ศอก กว้าง 12 ศอก เป็นสี่เหลีายมให้เป็นอุมะ ก็เอาหินมาทำเป็นแท่นรองรับขะอุบคำที่บรรจุเกศาธาตุนั้น ลัวะทุ้งหลายจึงนำข้าวของลงใส่หลุมบูชาพระเกศาที่ตั้งไว้ในหลุมพระอินทร์จึงแต่งยันต์ผัดไว้ทั้งสี่ทิศ เสร็จแล้วจึงเอาดินถมเสรยวันนั่นแล พระพุทธเจ้สจึงทำนายไว้ดังนี้ เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ท่านทั้งหลายยงเอาธาตึแขนซ้ายของตถาคตมาบรรจุไว้กับเกศาธาตึตถาคตแห่งนี่เถิด และบุคคลใดได้กราบไหว่บูชาเสมอๆ ก็เหมือนดั่งได้กราบไหว้พระตถาคตยังเมื่อทรมานอยู่นั้นแล พระพุทธเจ้าจึงจึงเสด็จลงจากหลังดอยไผทางทิศตะวันตกนั้นประมาณ 50 วา ก็ถึงที่สุดห้วยบก มีเสือโคร่งตัวหนึ่งออกมาจากถ้ำ กระทำคาราวพคุกเข่าน้อมนมัสการพระพุทธเจ้านั้นแล พระพุทธเจ้าทำนายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว ถึงคราวศาสนาของตถาคตมาตี่งมั่นในนิคมนี้

                 และถ้ำอันนี้จะปรากฎชื่อว่า"พยัคฆะคูหา" ไทยว่า"ถ้ำเสือ" ดังนี้แล ด้วยเดชแห่งเกศาธาตุพระพุทธเจ้าอันมาตั้งในที่นี้ ห้วยบกอันนี้ก็จะเกิดมีน้ำแล ควรที่นำน้ำนี้ไปสรงเกศาธาตุนี้แล พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านปากน้ำนั้นไปทางทิศเหนือประมาณได้ 700 วา ยังมรต้นไม้ 7 ต้น มาสุมกันอยู่มีหินผามากนัก พระพุทธเจ้าจึงประทับรอยพระบาทลงบนหินก้อนหนึ่งกว้างได้ 7 ศอก พระพุทธเจ้าก็บรรจุไว้ซึ่งพระบาทแห่งนี้แล้ว ขณะนั่นมีลัวะผู้หนึ่งไปป่ากลับมาบ้านได้นำดอกสร้อยมาด้วย ชาวลัวะทั้งหลายที่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็บอกกล่าวแก่ลัวะผู้ไปป่ามานั้นว่า เมื่อตะกี้พระพุทธเจ้าได้เสร็จมาที่นี่ ลัวะคนนั้นจึงถามว่าประเดี๋ยวนี้พระพุทธเจ้าไปทางใด ลัวะเหล๋านั้นก็บอกว่าไปทางทิศเหนือโน้นแล ลัวะที่งหลายเหล่านั้นก็เอาดอกสร้อย แล้วรีบพากันเดินตามพระพุทธเจ้าไปทันพระพุทธเจ้าที่หินอันพระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทนั้นแล ลัวะทั้งหลายก็เอาดอกสร้อยกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้ามากนักวัรนั้นแล พระพุทธเจ้าทำนสยว่า คามนครที่นี้ตถาคตได้สรงน่ำที่หนึ่ง ได้ฐาปันนาตั้งไว้พระเกศาธาตุที่หนึ่ง ไก้ทำนายถ้ำพยัคฆะคูหาไว้และประทับรอยพระบาทไว้บนหินนี่ที่ 1 แลเป็นสิ่งที่ลัวะทั้งหลายเอาดอกสร้อยมาสักการบูชาตถาคตมากนัก เมื่อพระตถาคตนิพพานไปแล้ว ศาสนาของพระตถาคตก็จะมาตั้งที่นี่ คามที่นี้จักได้ชื่อว่า"เมืองสร้อย" นั้นแล คนทั้งหลายอันอยู่ในเมืองที่นี้ก็จะมีน้ำใจศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็จักสัมฤทธิ์ด้วยข้าวของเงินคำ รุ่งเรืองไปมากนักแล และเกศาธาตุตถาคตในดอยที่นี้ก็จักปรากฎรุ่งเรืองเมื่อศาสนาล่างได้ 700 ปีนั้นแล ภิกษุที่เป็นศิษย์ตถาคต อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย ผู้มีบารมีอัยกว้างก็จักมีใจอ่อนน้อมมากราบไหว้บูชาพระเกศาธาตุแห่งพระตถาคตอันชื่อว่า"เมืองสร้อย"นี้สืบๆไปเหมือนหนึ่งดังได้กราบไหว้บูชาพระตถาคตเมื่อยังทรงมีอายุอยู่นั้นแล บุคคลชายหญิง สมณะพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ที่มีใจศรัทธาจะเดินไปกรสบไหว้บูชาสิ่งทึ่ตถาคตฐาปันนาตั่งไว่นั้น ไม่อาจคณนรผลานิสงค์ได้ เป็นดั่งอาจารย์ทั้งหลาย กฎหมายว่าบุคคลใดมีจิตศรัทธาจะเดินทางไปกรสบไหว้เกศาธาตุตถาคต มาตรว่าบาทอย่างหนึ่งอามาผ่าเป็น 7 ส่วน เอาส่วนหนึ่งมานับผลานิสงค์ก็เทียบบ่ได้แท้จริงแล กล่างตำนานเมืองสร้อยก็จบเพียงนี่ก่อนแล

             โวหารพระพทธบาท พระเกศาธาตุเมืองสร้อยเขียนบริบูรณ์แล้วเดือน 12 แรม 4 ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ จฺลศักราช 1070 ปีไก๊(ปีกุน) ศรัทธาได้สร้างให้กว้างแก่อัตตากลัวอบายภูมิอันมีนรกเป็นต้น เพื่อเป็นไม้ใต้ส่องหนทางไปข้างหน้าของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง บุคคลใดไดัสร้างตำนานพระพุทธบาทพระเกศาธาตุเมืองสร้อยนี้ เสมอดั่งได้กราบไหว้แทบพระบาทของพระพุทธเจ้าจะมีบุญบารมีมากนัก จักปรารถนาสิ่งใดก็จักสมความปรารถนานั้นเที่ยงแท้อย่าสงสัยเลย



คัคจากหนังสือ กึ๊ดหาเมืองสร้อย”
ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำ พระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย .บ้านนา .สามเงา .ตาก
วันที่ ๔ -๖ เมษายน .. ๒๕๕๒

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น