วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

- สามพระครูเจ้า ที่ได้มาบูรณะปฏิสังขรณ์


วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย
เดิมทียังไม่ได้สร้างเขื่อนภูมิพล ขึ้นกับตำบลมืดกา อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังการสร้สงเขื่อนภูมิพลแล้วปัจจุบันวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยขึ้นกับตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ทิศตะวันออกติดแม่น้ำปิง ปืไหนดินฟ้าอากาศดีน้ำก็ขึ้นมาถึงตีนพระธาตุ ปี พ.ศ.2518 กับ พ.ศ.2545 น้ำไดัขึ้นมามาก วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยถูกล้อมไว้เป็นเกาะลอยอยู่กลางน้ำ ทิศใต้ติดหมู่บ้านที่ใกลัที่สุด คือ บ้านอูมวาบ หมู่ 1 ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก คิดว่าใกล้ที่สุด คือหมู่บ้านที่ไปหาใกล้กว่าหมู่บ้านอื่น ระยะประมาณ 25  กิโลเมตรและหมู่บ้านหิดลาดนาไฮ เลยไปอีก 6  กิโลเมตร จากหมู่บ้านอูมวาบไปทางทิศตะวันตกติดกับดอยม่อนจอง ดอยม่อนจองลูกนึ้สันฐานคล้ายพระวิหาร เพราะว่าบนยอดดอยของดอยม่อนจองไม่มีต้นไม้ขึ้น อยู่ไกลๆมองคล้ายๆ หลังคาวัด เลยเรียกว่าม่อนจองหรือดอยม่อนจอง (จอง =เป็ภาษาไทยใหญ่-ไทลื้อล้านนา หมายถึง วัด) หรือเรียกว่าดอยหลังเมือง คือดอยที่สูงใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เพราะถ้าเดินจากเมืองสร้อยขึ้นถึงหลังเขาดอยลูกนี้ ก็จะเห็นเมืองอีกเมืองหนึ่ง คือเมืองตื๋น หรือเมืองนันต๊ะบุรี ตามตำนานว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองนี้ใกล้รุ่งใกล้แจ้งคนกำลังตื่นกันพอดี ปัจจุบันคนเรียกเพื้ยนไปเป็นเมืองตื๋น เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาใกล้แจ้ง คือ เสด็จ มาถึงใกล้แจ้งใกล้สว่างพอดีเลยไว้พระเกศาธาตุที่นี่

ส่วนทิศเหนือแต่ก่อนที่จะสร้างเขื่อนภูมิพลก็ติดกับหมู่บ้านแก่งปวง บ้านหาดขี้หมู บ้านเสลี่ยม ปัจจุบันหมู่บ้านพวกนี้ได้ไปอยู่เมืองบาดาลแล้ว คือจมน้ำไปหมดเลย ปัจจุบันทิศเหนือ หมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดของวัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย ก็คือ หมู่บ้านก้อ อำเภอลื้ จังหวัดลำพูน ระยะทางไปประมาณ 40 กิโลเมตร ตั้งแต่บ้านเมืองเกิดภัยสงครามกับพม่า บ้านเมืองก็เลยแตกสาแหรกขาด วัดพระธาตุเจ้าก็เลยร้างไปพร้อมกับเมือง และได้สร้างเขื่อนยันฮีขึ้นมา เมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำให้น้ำท่วมบ้านเมืองไปหลายบ้านเมือง ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์บอกว่าตั้งแต่เขื่อนขึ้นมาถึงเมืองฮอด มีวัดทั้งหมด 999 วัด เฉพาะเมืองสร้อยก็มี 99 วัด แล้วหัวเมืองอื่นๆอีก คือเมืองแส บ้างก็เรียกหนองแสงโบราณวัตถุยังปรากฏให้เห็นอยู่มีกำแพงสูง 2 เมตรกว่า ความหนาประมาณ 1 เมตร คงจะเป็นที่ตั้งของพระราชฐาน พระราชวังโบราณ ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นที่น่าศึกษามาก ซากปรักหักพังของวัดวาอารามที่ปรากฏให้เห็นไม่สามารถจะนับได้ เมืองที่ร้างไป คือ เมืองสร้อย เมืองหนองแสง เมืองดินแดง เมืองขอบดังคำ ตามจารึกในคัมภีร์ใบลานที่ได้มาถ้ำห้วยถาง ธรรมผูก 8 บาลี บาราชิกกัณดะ พระยาหลวง เจ้าต๋นเป๋นเอ้กะมันติ สร้างไว้กับปิฏกวัดเจียงหลวงนั้นแล จุลศักราช 1066 ตั๋วปี๋ จนถึงปัจจุบันอายุก็ประมามณ 304 ปี ก็ประมาณ พ.ศ. 2248

ตำนานเมืองสร้อยคัมภีร์ใบลานต้นฉบับของวัดชัยมงคล อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตอนท้ายได้จารึกไว้ว่า "  ปริปุณณ แล้วยามฉันเพลแล จุลศักราชได้ 1252 ตัวปลีเมิงเม้าแล ปลีกัดเหม้า เข้ามาในเดือนสิบ แรมสิบค่ำ (วัน) 6 แก่ข้าแล ข้าเขียนธัมม์ผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนา 5 พันพระวัสสา แด่นิพพานํ ปรมํ สุก์ขํ คันธาภิกขุ ริกฺธิต หื้อพ่อออกเจ้าน้อยหลวงคำตื้อแลปางเมื่ออยู่ สบสระเหลี่ยมแล " พ.ศ. 2434

เจ้าน้อยคำตื้อคงสืบเชื้อสายมาจากเมืองสร้อย และมากิ๋นเมืองต๋าม หนองสี่ฮ้อย แลพสบสระเหลี่ยม

ตำนานพระเกศาเมืองสร้อย วัดบ้านจั่ง อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ดั่งข้อความในตอนท้ายว่า .เสด็จแล้ววัน 5 ยามเที่ยงแล นายเหย สักกพัดไว้ 1259 ตัวปลีเมิงเล้าแลนายเหย เดือน 12 ออก 13 ค่ำ พร่ำว่าได้วัน 5 แล พระตนน้อยสามเณรสุยะริจสร้างปางเมื่ออยู่วัดบ้านชั่ง แก้วกว้างท่าช้าง สรีบุญเรือง วันนั้นแล อก พุทโธ ชะดาบ่ทันแล้ว ย้อนใคร่แอ่วและนายเหย ข้าบ่ช่างเขียน ขีดแต้มตามฮีตฮอยพทัตหื้อเจ้าคอยแปง ค่อยแยง ค่อยรัด จิ่มเตอะ เจ้าใจข้าบ่อพอตั้งเท่าใดแล นิพพานํ ปรมํ สุขํธุรํ แด่เทอญเจ้า เจ้าเหยเหย คงจะอยู่ในสมัยแผ่นดินของพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่ล้านนาเฮา ครูบาอาจารย์  และคนโบราณ แต่ก่อนท่านกลัวพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสูญหาย พอรู้ว่าบ้านเมืองเกิดภัยสงครามก็ชานกันเอาพระคัมภีร์ใบลานพระไครปิฏกเก็บไว้ยังถ้ำที่ได้มาจากถ้ำห้วยยอมหลวงมีอายุ 500 กว่าปีเศา เอาไปถวายให้ท่านพระราชพรหมจารย์ ท่านอาจารย์ทอง วัดพระธศรีจอมทอง ท่านจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับล้านนาไทย ปัจจุบันต้นฉบับได้เก็บไว้ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม วัดท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์ จะเห็นได้ว่าบ้านเมืองเป็นชุมชนหนาแน่นไมาใช่น้อย ตามออกในตำนานเมืองตื๋นว่า บ้านอูมวาบ หินลาดนาไฮ หนองแสง ดินแดง ขอบด้ง ก็คงจะอยู่ในยุคของเมืองร้างไปประมาณสามสี่ร้อยปีผ่านมาวัดพระธาตุแก่งสร้อยก็เลยอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายกลางป่าไม้ไพรดง จนมาถึงยุคครูบาเจ้าชัยลังก๋า หรือเรียกกันตามประสาชาวบ้านว่า ครูบาเจ้าลังก๋า ครูบาเจ้าลังก๋า เดิมทีท่านมีบ้านเกิดเมืองนอนอยู่ที่บ้านฮั่ว ท่านเกิดวันอังคาร ปีเม็ด (ปีแพะ) เมื่อปี พ.ศ. 2400 อยู่ในตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของพ่ออนันต์ ส่วนมารดาของท่านนั้นไม่ทราบชื่อ พออายุครบบวชพระท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ถือเคร่งในธุดงค์วัตรมาตลอด ท่านก็ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร และมีพระหลานชายของท่านอีกองค์หนึ่ง เมื่ออุปสมบทแล้วก็ออกติดตามเป็นพระอุปฐากท่านครูบาเจ้าลังก๋า พระหลานชายของท่านองค์นี้ คือ ท่านพระครูบาอินถา เป็นบุตรของพ่อน้อยอินทร์ตาและแม่หน่อ ใจบุญเรือง บ้านเดิมก็อยู่บ้านฮั่วเหมือนกัน ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงค์เล่าว่าครูบาเจ้าลังก๋าเป็นพระสันโดษอยู่อย่างง่ายเคร่ง จริยวัตรปฏิบัติ (นี้ไม่ได้เขียนนอกเรื่อง เพราะประวัติของครูบาอาจารย์นับวันยิ่งไม่มีคนรู้จัก) เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ติดกับที่อยู่ ท่านอาจารย์ครูบาเล่าว่า ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ที่ไหนไม่เกิน ๗ วัน ถ้ามีศรัทธานิมนต์ท่านก็อยู่โปรดเมตตาอยู่ฉลองศรัทธา สัก 2 – 3 วัน ก็ออกธุดงค์ไปต่อ เมื่อปี พ.ศ. 2465 ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมคณะของท่านออกธุดงค์มาจากวัดพระบาทห้วยต้มมากราบพระธาตุแก่งสร้อย เห็นว่าสถานที่นี่เหมาะแก่การเจริญเมตตาภาวนาสัปยะดี คณะของท่านก็พักปฏิบัติอยู่วัดพระธาตุแก่งสร้อย ส่วนตัวของท่านครูบาเจ้าลังก๋า ก็พักอยู่ถ่ำเล็กบ้าง ถ่ำเสือห่างจากองค์พระธาตุประมาณ 60 วา จากองค์พระธาตุลงไปหาม่น้ำปิงประมาณ 500 วา ติดกับแม่น้ำปิงก็มีพวกชาวบ้านอยู่ประมาณ 4 – 5 หลังคาเรือน เป็นพวกเลี้ยงวัวและหาปลาก็ขอนิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าพร้อมด้วยคณะของท่านอยู่ปฏิบัติธรราที่นี่ เขาจะรับอุปฐากโดยพ่อบุญทา โก้ง เป็นคนบ้านก้อพาครอบครัวมาเลี้ยงวัวและหาปลา อยู่ที่ท่าวัดพระธาตุแก่งสร้อย หลวงพ่อจันทร์ตาเป็นลูกของพ่อบุญทา ได้เล่าให้ฟังว่าตัวท่านก็เกิดบ้านก้อ แต่มาโตที่แก่งสร้อย ท่านอายุอ่อนกว่าท่านครูบาเจ้าวงค์ประมาณ 2 ปี ท่านเล่าว่ามีอยู่วันหนึ่งพ่อบุญทาได้ไปทำความสะอาดที่องค์พระธาตุแก่งสร้อย ซึ่งรกร้างมานานหลายร้อยปีไม่มีใครมาดูแลมีแต่เครือเถาวัลย์ปกคลุมไปหมด คณะของพ่อบุญทาก็ทำความสะอาดถากถางเอาเครือเถาวัลย์ออกจากพระองค์ธาตุก็หักเหลือครึ่งองค์ พอตกกลางคืนหลับฝันไปว่าเทวดามาถามว่า ท่านจะมาสร้างหรือถึงได้มาแผ้วถางพ่อบุญทาก็ตอบไปว่าบ่สร้าง บ่มีบุญ แต่มาอุปฐากไหว้สาบ่ดาย
                อยู่ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2467 ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยได้มอบให้พระสิระสาพร้อมคณะมาค้นหาพระธาตุแก่งสร้อย ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกว่าจากน้ำปิงไปประมาณ 500 วา เจ้าของเขารออยู่ที่หน้าวัดนั้น และคณะของพระสิระสามาก็พบพ่อบุญทาและคณะของครูบาเจ้าชัยลังก๋า ก็ขึ้นมาดูองค์พระธาตุก็กลับไปบอกแก่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย แห่งวัดจ๋อมศรีทรายมูลบุญเรือง บ้านปาง ท่านก็มอบหมายให้ลูกศิษย์ของท่าน 3 รูป นำโดย พระสิระสา พระพุทธิมา และพระก้อนได้นำศรัทธาพระภิกษุสามเณรปั้นดินจี่ ที่วัดก้อต้าปิงเหนือเสร็จแล้วได้นำอิฐลงเรือล่องแพมายังวัดแก่งสร้อยแล้ว คณะลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัยก็นิมนต์ครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานในการบูรณะก่อสร้างพระธาตุแก่งสร้อย เพราะครูบาเจ้าชัยลังก๋ามีอายุพรรษาแก่กว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยไป 18 ปี ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยตอนนั้นท่านอายุได้ 49 ปี ส่วนพระอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์ตอนนั้นท่านยังเป็นขะโยม อยู่อุปฐากรับใช้ท่านครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่ได้ 12 ปี ส่วนท่านครูบาเจ้าศรีชัยลังก๋าอายุได้ 67 ปี ยังแข็งแรงอยู่จากนั้นพระสิระสาได้ให้โยมที่ติดตามมาด้วยไปนิมนต์พระสงฆ์ที่มีอายุพรรษา 20 รูปโดยมีครูบาเจ้าลังก๋าเป็นประธานทำพธีสวดถอน เริ่มตั้งวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 6 ค่ำ พ.ศ. 2467 จุลศักราชได้ 1286 ปีไจ้ (ชวด) การก่อสร้างได้ดำเนินการงานไปอย่างต่อเนื่อง  จนมาถึง พ.ศ. 2468 พระครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็ได้อุปสมบทลูกศิษย์ของท่านเป็น พระภิกษุ ๔ รูป ได้แก่
1. พระภิกษุสุก           (สึกแล้ว)
2. พระภิกษุเมา          (สึกแล้ว)
3. พระภิกษุหล้า         (สึกแล้ว)
4. พระภิกษุอินถา      (องค์นี้เป็นพระอุปฐากของครูบาเจ้าชัยลังก๋า)

และที่บรรพชาเป็นสามเณร ๖ รูปได้แก่
1.สามเณรชัยลังก๋า               (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระซึ่งปัจจุบันท่าน คือ หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา)
2. สามเณรดา                        (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
3. สามเณรดา                        (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
4. สามเณรแก้ว                     (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
5. สามเณรแฮด                     (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
6. สามเณรอุ่น                       (ต่อมาอุปสมบทเป็นพระและสึกแล้ว)
                    ต่อมาได้ทำพิธียกยอดฉัตรองค์พระเจดีย์ และฉลององค์พระเจดีย์เป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืนโดยมีครูบาเจ้าชัยลังก๋า และครูบาศรีวิชัยเป็นประธานพร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ทุกคน และมีครูบาอาจารย์ ที่มีอายุพรรษาในสายน้ำแม่ปิงและใกล้เคียงมาร่วมงานบุญฉลอง อาทิ ครูบาเจ้าคำสุข วัดบ้านจั่ง และครูบาเจ้าอิน วัดนาทราย และครูบาหลายรูปหลายองค์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยขอท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ ส่วนสายบ้านนาไม่มีการจารึกไว้ การบูรณะในสมัยของท่านเจ้าอาจารย์สององค์นี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยแรงศรัทธาของพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาและศรัทธานักศีลนักบุญทั้งหลาย ที่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยโดยไม่รับค่าตอบแทน ค่าแรงแม้แตบาทเดียว เขาทำงานเพื่อหวังประโยชน์สูงสุดในชาตินี้และชาติหน้า คือสวรรค์ชั้นฟ้า เมืองแก้วนิพพานเจ้า ขออนุโมทนาสาธุการก่อสร้างบุญครั้งนี้กับท่านด้วย สาธุ
รายชื่อพระภิกษุสามเณรและฆราวาสที่ได้มาช่วยสร้างบูรณะองค์พระเจดีย์พระบรมธาตุแก่งสร้อยในครั้งแรกในปี พ.ศ. 2467 กับครูบาเจ้าชัยลังก๋าและครูบาเจ้าศรีวิชัย
รายชื่อผู้ที่บูรณะพระบรมธาตุแก่งสร้อยครั้งที่ 1 เป็นภิกษุที่มรณภาพแล้วดังนี้
1. พระครูบาเจ้าชัยลังก๋า          วัดบ้านฮั่ว
2. พระครูบาเจ้าศรีวิชัย             วัดบ้านปาง
3. พระครูบาเจ้าก้อน                 วัดแม่พริก
4. พระครูบาอินถา                    วัดนาเลี่ยง
5. พระครูบาเจ้าจันต๊ะ               วัดบ้านชั่ง แปลง ๘
6. พระครูบาเจ้าอินต๊ะ (ครูบาเผือก) วัดบ้านชั่ง แปลง ๘
รายชื่อผู้มาบูรณะที่เป็นหนาน (ทิด) ซึ่งปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
1. หนานสิสา              บ้านแม่หว่าง ห้วยสลา
2. หนานพุทธิมา         บ้านก้อจอก ห้วยกาน
3. หนานกันทา           บ้านก้อ ท่าหาดหยวก
4. หนานพรหมมา      บ้านก้อท่า
5. หนานอ้าย              บ้านก้อท่า
6. หนานพรหมมา      บ้านก้อท่า
7. หนานเสาร์             บ้านก้อท่า
8.  หนานแฮด              บ้านก้อท่า
9. หนานอุ่น                  บ้านก้อท่า
10. หนานแก้ว              บ้านก้อท่า
11. หนานคำ                 บ้านป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง
12 .หนานดา                  บ้านก้อจอก ห้วยขี้นก
13. หนานยวง                 บ้านแม่หว่าง
14. หนานสุข                   บ้านแม่หว่าง ห้วยกาน
15. หนานเมา                          บ้านแม่หว่าง
16. หนานปัน                          บ้านอูมวาบ
17. หนานปันน้อย                  บ้านอูมวาบ
18. หนานทา                           บ้านอูมวาบ
19. หนานหล้า                        บ้านหาดขี้หมู อ.เชียงดาว
20 .หนานทำ                           บ้านงิ้วเฒ่า อ.ดอยเต่า
21.หนานใหญ่                        บ้านเสลี่ยม อ.เชียงดาว

ผู้ที่บูรณะวัดแก่งสร้อยที่เป็นน้อย (ผู้ที่บวชเป็นสามเณรแล้วสึกออกมาเป็นฆราวาสปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว)
1. น้อยเจน             บ้านแม่หว่าง แม่นารี
2. น้อยมูล              บ้านแม่หว่าง
3. น้อยสี                 บ้านก้อท่า เชียงดาว
4. น้อยตา               บ้านเสลี่ยม เชียงดาว
5. น้อยหมู              บ้านหาดขี้หมู เชียวดาว
6. น้อยเป็ง             บ้านแก่งปวง ผาต้าย
7. น้อยยอด            บ้านก้อท่า
8. น้อยใหม่             บ้านก้อท่า
9. น้อยเมือง           บ้านแปลง 1 ดอยเต่า
                 ส่วนพระครูบาเจ้าศรีลังก๋าพอเสร็จงานฉลองสมโภชพระบรมธาตุแก่งสร้อย ก็พาคณะศิษย์ของท่านออกธุดงค์ไปเมืองตื๋น เมืองม่าน ไปหลายแห่ง ตอนบั้นปลายชีวิตของพระครูบาได้ปลีกออกธุดงค์ไปเชียงแสน เชียงราย เชียงรุ้ง เชียงตุง องค์เดียว และได้แวะมาเยี่ยมญาติของท่านที่อำเภอเวียงชัย บ้านท่าขี้เหล็ก และท่านครูอาจารย์ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็มามรณภาพ ณ ที่สถานที่ตรงนี้ ขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ อาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์เล่าว่าขณะนั่งขัดสมาธิภาวนาอยู่ใต้ต้นไม้เขียวชอุ่ม พอท่านมรณภาพละสังขารต้นไม้นั้นก็ตายไปพร้อมกับการละสังขารของท่าน ครูบาอาจาย์เล่าว่าทุกทิศทางไร้เมฆาทั้งสี่ด้าน กระจ่างตา ลมโชยกลิ่นหอมกำใจบรรชิตไร้สุ้มเสียง สละละซึ่งสังขารไร้โทสา ไร้ทุกข์ร้อน เป็นที่นิยม หมดสิ้นแล้วอาสวะเหลือแต่อัฐาตุที่บริสุทธิ์ไว้ห้พวกเรากราบไว้บูชาท่าน
ส่วนครูบาเจ้าอินถาได้ออกธุดงค์ไปพร้อมกับครูบาเจ้าชัยลังก๋าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ๆ ก็ได้ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียวพอรู้ว่าครูบาเจ้าชัยลังก๋าอยู่เชียงรายก็ออกติดตามไปหา แต่ท่านอาจารย์ได้มรณภาพไปก่อน ครูบาเจ้าอินถาก็มามรณภาพที่บ้านท่าขี้เหล็กเหมือนกัน
เมื่อนภาไร้เมฆบดบัง            ทั่วทุกด้านสว่างไสว
ลมพัดโชยเรื่อย ๆ ไกล          ขุนเขาไร้เสียง จำเนียงนรรจ์
วันนี้น่ายินดี หยุดชีวีที่ผูกพัน               ไร้ทุกข์โศกในทุกวัน ทั้งขันณ์ 5 ไม่พบเจอ
                         ส่วนครูบาเจ้าศรีวิชัยพอฉลองงานสมโภชพระธาตุแก่งสร้อยแล้วก็พาคณะศิษย์ของท่านออกบำเพ็ญบุญก่อสร้างฟื้นฟูถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา ก็พาคณะศิษย์ล่องเรือล่องแพไปยังบ้านนา แล้วกลับขึ้นมาสร้างพระธาตุม่อนงัวนอน (พระธาตุวัดดอยป่าตาล) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ส่วนครูบาเจ้าวงศ์ยังเป็นสามเณรอยู่ ครูบาเจ้าชัยลังก๋าก็พาไปธุดงค์ยังเมืองตื๋น และได้พบกับครูบามหาป่า (ครูบาพรหมจักรที่วัดจอมหมอกแล้วก็เอาครูบาเจ้าวงศ์ฝากเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้อยู่อุปฐากครูบาเจ้าพรหมจักร ณ ที่วัดจอมหมอกนี้ ส่วนท่านครูบาเจ้าลังก๋าก็ปลีกออกไปธุดงค์องค์เดียว วัดพระธาตุเจ้าแก่งสร้อยก็เลยขาดพระภิกษุสามเณรอยู่อุปฐากดูแล นานวันเข้าจนกลายเป็นวัดร้างไปตั้งแต่นั้นมาจนถึงเมื่อปี พ.ศ. 2537 จำได้ว่าเป็นวันวิสาขบูชา คือ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 วันที่ 16 พฤษภาคม ข้าพเจ้าได้นิมนต์ครูบาเจ้าวงศ์มาเป็นประธานสรงน้ำพระธาตุเจ้า ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าก็ดำริว่า สมควรจะบูรณะกำแพง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เป็นวันวิสาขบูชาพอดี ท่านอาจารย์ครูบาเจ้าวงศ์พร้อมด้วยคณะที่มาร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุก็ลงมารับบิณฑบาตรเมื่อฉันเช้าเรียบร้อยแล้ว ก็วางหินศิลาฤกษ์ก่อสร้างกำแพงขยายออกจากของเดิมด้านละสามวาครึ่ง แล้วก็มาสร้างพระวิหารในปีต่อมาสร้างสาลา ได้สร้างศาลาศรัทธาธรรมเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2537 ได้สร้างพระอุโบสถน้ำเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2539 ได้สร้างศาลาชัยลังก๋านุสรณ์เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2539 ได้บูรณะพระธาตุเจดีย์ศรีฉัตรแก้วหลังถ้ำเสือ เมื่อ ๒๒ ก.ย. 2539 วันที่ 30 มิ.ย. 2539 ได้หล่อพระประธานในพระวิหารหลวง หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว 1 องค์ พระประธานในพระอุโบสถน้ำ 1 องค์  พระประธานบนรอยพระพุทธบาทแก่งจ๋าง 1 องค์  พระประธานข้างพระธาตุหลวงแก่งสร้อย 1 องค์ หน้าตัก 4 ศอก 9 นิ้ว เท่ากันหมดเลย ลุมาถึงปีพ.ศ.2541 วันที่ 9-11 พ.ค. เป็นเดือน 8 ออก 13 –14 – 15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชา ได้นิมนต์พระสงฆ์มารวมฉลองปอยหลวง พระอุโบสถ มีพระครูพินิจสารธรรม และครูปัญญาพรหมคุณมาเป็นประธานในงานฉลอง พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบทพระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเดือน 8 แรม 1 ค่ำ ก็ได้บวชสามเณร 6 รูป อุปสมบท พระภิกษุอีก 5 รูป พอถึงเวลาฉันเช้าเสร็จแล้วก็ได้นิมนต์ พระมหาเถรานุเถรขึ้นไปบนลานพระธาตุ เพื่อทำการสวดถอน วางศิลาฤกษ์พระบรมธาตุเจดีย์ที่ก่อสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย เพื่อให้คงรูปแบบเดิมในสมัยพระครูบาเจ้าศรีวิชัย การก่อสร้างได้ดำเนินไปและได้มีท่านพระครูปัญญาธรรมวัตร พร้อมด้วยคณะศิษย์มาช่วยบูรณะในครั้งนี้ ลุมาถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ได้นิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธานในงานบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุหลวงแก่งสมัย พร้อมกับว่าเจ้าภาพจะยกฉัตรขึ้นแต่ช่างมาทำเจดีย์ไม่สวย ไม่ได้ตามแบบที่พระครูบาเจ้าบอกไว้ ก็เลยเรียนท่านพระครูบาว่าจะขอแก้ไขให้ได้รูปทรงขอพระครูบาเจ้าเมตตาอย่ายกยอดฉัตรขึ้นเต๊อะ พอทำพิธีบรรจุเสร็จก็ได้หาช่างมาแก้ไขและหุ้มแผ่นตองจังโก้ มาจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชาได้จัดประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำพระบรมธาตุแก่งสร้อย ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรมาร่วมทำบุญร้อยกว่ารูปมีท่านพระครูพินิจสารธรรม (ครูบาพรรณ) และท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) มาเป็นประธาน สรงน้ำและได้ยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดพระบรมธาตุแก่งสร้อย พอเสร็จงานก็ได้ไปกราบเรียนพระครูบาเจ้าฯ ท่านก็กำหนดงานฉลองสมโภชณ์พระบรมธาตุขี้นอีกครั้งเป็นเวลา 5 คืน 5 วัน และได้ทำพิธีตานใช้ตานแทนของที่มีวัดวาอารามพระธาตุเจดีย์วิหารที่ถูกน้ำท่วมในการสร้างเมขื่อน ตรงกับที่ได้กราบอาราธนานิมนต์พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนามาเป็นประธาน ในงานฉลองสมโภชน์และได้กราบอารธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาบุญชุบ วัดเกาะวารุกราม อ.เมือง จ.ลำปาง มาเป็นประธานสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์ อีก 50 กว่ารูป เจริญพระพุทธมนต์และรับสังฆทานในงานฉลองสมโภชน์พระบรมธาตุ เจดีย์ที่ได้ก่อสร้างครอบองค์เดิมให้ใหญ่กว่าของเดิม ลุมาถึงเดือน 8 ขึ้น 13 – 14 –15 ค่ำ เป็นวันวิสาขบูชาก็ได้ จัดงานประเพณีขึ้นไหว้สารสงน้ำพระบรมธาตุเจ้าแก่งสร้อย ตรงกับวันที่ 15 – 16 – 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2553 ปีนี้พระครูบาเจ้าพรรณไม่ได้มาแต่ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณ (ครูบาคำปวน) วัดพิงคารามวังหม้อ อ.ดอยเต่า ท่านได้เมตตามางานตลอด พอวันที่ 16 พ.ค. ตอนเย็นลูกศิษย์ได้มาแจ้งข่าวว่าพระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้ป่วยหนักอยู่โรงพยาบาลลานนาอาการหนักมาก เพราก่อนที่จะจัดงานนี้ข้าพเจ้าก็ได้ขึ้นไปกราบท่านเมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้สนทนากับท่านเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ ท่านก็ได้สั่งหลาย ๆ อย่างก่อนที่จะกราบลาท่านลงมาท่านบอกว่าพรุ่งนี้จะไปโรงพยาบาล ข้าพเจ้าก็เห็นว่าท่านอาการดีปรกติอยู่ นึกว่าไปตรวจร่างกายตามปกติ พอได้ข่าวจากลูกศิษย์ก็ตกใจ พอตกเย็นมาก็ได้นิมนต์พระภิกษุสามเณรขึ้นวิหารโดยมีท่านพระครูปัญญาพรหมคุณเป็นประธาน สวดเจริญพระพุทธมนต์ ถวายให้พระครูบาเจ้าฯ พอพระท่านสักเคจบไฟก็ดับลง สักพักหนึ่งก็ติดเหมือนเดิม พอเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จก็มีเทศน์ พอวันที่ 17 พ.ค. ตรงกับวันวันวิสาขบูชา ก็ได้นิมนต์พระสงฆ์มาขึ้นบนวิหาร สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร ถวายให้หลวงปู่ครูบาเจ้าฯ พอท่านสักเคจบก็มีค้างคาว สองตัวบินมาวนที่พาน 5 โกฤฐาก เทียนที่พานทั้งห้าเล่มก็ดับไป พระหลายรูปร่วมทั้งข้าพเจ้าก็หันมามองหน้ากันแล้วก็สวดธรรมจักรกัปวัตนสูตร พอสายมาก็รับบาตร กลับมานั่งฉันข้าวในอุโบสถพร้อมพระเณรข้าพเจ้านั่งฉันข้าววกับท่านพระครูปัญญาพรหมคุณอยู่ ได้มีลูกศิษย์มาบอกว่าพระครูเจ้าชัยยวงศาได้ละขันธ์ไปแล้ว ทุกรูปวางจานข้าวเลย ท่านพระครูปัญญาพรหมคุณก็ได้ให้สติว่า ธรรมดาของสังขารไม่วันใดก็วันหนึ่งที่ท่านจะต้องจากพวกเราไป แม่พระพุทธเจ้ายังดับขันธนิพานแลยเป็นธรรมของโลก อย่าเศร้าโศกเสียใจเลยเร่งทำความดีตามรอยพระครูบาเจ้าและปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของท่านก็สะเหมือนท่านอยู่กับเราตลอดไปหลังจากพระครูบาเจ้าได้ละสังขารไปแล้ว ข้าพเจ้าพร้อมคณะศิษย์ก็อยู่ดูแลอุปฐากก่อสร้างรักษาอยู่วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อยมาตลอด ลุมาถึงปี พ.ศ.2545 วันที่ 2 เดือนพฤศจิกายน น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ เขื่อนก็ปิดน้ำทำให้น้ำเออนองขึ้นมาท่วมวัด กำแพงตรงหน้าพระธาตุก็ได้พังลงไป นับว่าเป็นการเสียหายครั้งใหญ่ ปีต่อมาข้าพเจ้าก็บูรณะกำแพงและได้สร้างบันไดนาคขึ้นด้านทิศตะวันออก โดยการอุปถัมภ์ของโยม ดร.บุญเลิศ  มาแสง พร้อมคณะ ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มารับสังฆทานสองร้อยกว่ารูปเป็นมหาตานปางใหญ่
ตำนานพระบรมธาตุแก่งสร้อยก็ขอยุติเท่านี้แล

พระป่านิกร ชยฺยเสโน
เสนาสนะป่าอารัญญาวาสพระธาตุเจ้าแก่งสร้อย

คัคจากหนังสือ กึ๊ดหาเมืองสร้อย
ที่ระลึกในงานประเพณีขึ้นไหว้สาสรงน้ำ พระบรมธาตุ ปอยหลวงศาลาสามพระครูบาเจ้า
วัดพระบรมธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วันที่ ๔ -๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น